TrueID
TH
รีเซต
ผลการค้นหา “Burnout Syndrome” - ทรูไอดี
ยอดนิยม
ดู
สิทธิพิเศษ
อ่าน
คลิปสั้น
อ่าน
กลับหลังหันก็ไม่ได้ จะเดินต่อไปก็ไม่ไหว นี่เรากำลังตกอยู่ภาวะ BURNOUT SYNDROME หรือเปล่านะ?
เชื่อว่าเหล่ามนุษย์ทำงานหลายคนต้องเคยประสบกับปัญหา ร่างกายอ่อนล้า เหนื่อย เบื่อ เครียด จากการทำงานในแต่ละวัน เมื่อเข็มนาฬิกาหมุนเวียนมาเป็นวันจันทร์ทีไร ใจก็รู้สึกหมดแรง หมดพลังไปดื้อๆ "เมื่อไรจะวันศุกร์" คือวลีสุดฮิตที่เหล่ามนุษย์ทำงานต้องมีบ่นออกมาบ้างแหละแต่อาการเหล่านี้ สำหรับบางคนอาจจะเป็นแค่อารมณ์เซงๆ เบื่อๆ ที่ไม่กี่วันก็กลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม แต่ถ้าหากว่าอาการเริ่มหนักขึ้นจนทำตัวเองเกิดความคิดว่า "ฉันไม่อยากทำงานเลย" "คิดงานไม่ออก" "ทำไมชีวิตมันน่าเบื่อขนาดนี้" ร่างกายเริ่มอ่อนแรง หมดหวัง หมดกำลังใจ จนกระทบต่อชีวิตประจำวันและการทำงาน ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าคุณอาจตกอยู่ในภาวะ BURNOUT SYNDROME BURNOUT SYNDROME หรือ ภาวะหมดไฟจากการทำงาน เป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่ส่งผลจิตใจ ที่เกิดจากความเครียดจากการทำงานมากเกินไป ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มากจากรูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตที่หักโหมทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ภาระงานหนักมากเกินจำเป็น ทำงานเกินขอบเขต เจองานที่ไม่ถนัดแล้วต้องทำให้เสร็จอย่างเร่งรีบ อาจพบว่าตนเองไม่เหมาะสมกับงานดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น กดดันตัวเองว่าทำได้ไม่ดีเท่าเขา ชีวิตไม่มีความสุข สุดท้ายอาจกลายเป็นคนขาดความมั่นใจในตัวเองและหมดกำลังใจในการทำงาน ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ซึ่งหากสะสมความรู้สึกนี้ไว้เรื่อยๆ นานวันเข้าอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้วิธีแก้อาการ BURNOUT SYNDROME มีอะไรบ้างมาดูกันพักผ่อนร่างกายและจิตใจ ดูแลตัวเองให้มากขึ้น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้คิดมาก ลดความเครียดลง หากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง วาดรูป ถ่ายรูป ออกไปท่องเที่ยวจัดลำดับความสำคัญให้กับชีวิต ปรับทัศนคติในการทำงานใหม่ เปิดใจคุยกับคนรอบตัว หากคุณยังมีอาการของภาวะ BURNOUT SYNDROME อยู่ การขอคำปรึกษาและคุยกับใครสักคน เป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้คุณสบายใจและลดความเครียดลงได้ หากว่าคุณยังรู้สึกท้อแท้ ผิดหวัง ไม่สามารถจัดการกับความเศร้าได้และมีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้น นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคซึมเศร้า ดังนั้นควรรีบพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาโดยเร็ว อย่าปล่อยให้ความรู้สึกนั้นกลืนกินตัวตนของคุณไปภาวะหมดไฟ Burnout Syndrome ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวและสามารถหายได้ หากคุณได้ลุกขึ้นมาจัดการกับความคิดตัวเองใหม่ เลิกกดดันตัวเองและปล่อยให้ตัวเองได้เป็นอิสระทางความคิดมากขึ้น เพียงแค่นี้คุณจะเริ่มดีขึ้นและกลับมาใช้ชีวิตได้สดใส ไร้ความกังวล และอย่าลืมว่า....อะไรที่มันหนักไปก็วางลงบ้าง โฟกัสชีวิตของตัวเอง หาความสมดุลให้กับชีวิต แล้วคุณจะพบกับความสุข เครดิตภาพประกอบภาพปก โดย bellaluboo (เจ้าของบทความ)ภาพที่ 1 โดย bellaluboo (เจ้าของบทความ)ภาพที่ 2 โดย bellaluboo (เจ้าของบทความ)ภาพที่ 3 โดย bellaluboo (เจ้าของบทความ)ภาพที่ 4 โดย bellaluboo (เจ้าของบทความ) เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !
bellaluboo • 7 พ.ย. 66
อ่าน
5 วิธีแก้ภาวะหมดไฟในการทำงาน สาเหตุ และการรับมือ (Burnout Syndrome)
สวัสดีค่าเพื่อนๆชาว True ID ทุกคน เชื่อว่าในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เงิน ความรัก หรือภาระต่างๆในชีวิตมันก็สามารถทำให้เราหมดไฟหรือเรียกอีกอย่างนึงว่าอาการ Burnout Syndrome นั่นเอง ซึ่งหลายคนกำลังตกอยู่ในสภาวะนี้อยู่ใช่ไหมล่ะ T_T แต่ไม่ต้องกลัวและหมดกำลังใจไปนะ เป็นได้ก็แก้ได้ วันนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบกันว่าอาการหมดไฟที่ว่านี้ มีวิธีแก้อย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ~ Burnout Syndrome สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ขาดสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน หรือไม่มีความบาลานซ์ชีวิตในหลายๆเรื่อง ทำให้เกิดการเหนื่อยหน่ายท้อแท้ มีความกดดัน ความคาดหวัง ทำให้มีทัศนคติในด้านลบกับตัวเองละคนรอบข้าง จึงนำไปสู่ภาวะภาวะหมดไฟในที่สุด สิ่งที่สามารถนำพาทุกคนกลับมาอยู่สภาวะปกติได้ซึ่งทุกคนสามารถทำได้ ไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะเดี๋ยวเราเช็คเป็นข้อๆกันไปเลย 1. จัดระเบียบการใช้ชีวิต เรียงลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง เพียงแค่คุณทำสิ่งนี้ได้ชีวิตจะดีขึ้นแบบ200%เลย มันทำให้เราได้นั่งทบทวนตัวเองว่า สิ่งไหนที่เราควรจะทำและสิ่งไหนที่เราควรจะปล่อย เราจะเลือกทำสิ่งที่มีความสำคัญกับชีวิตดีกว่าต้องมานั่งเสียเวลาและสุขภาพจิตให้กับสิ่งที่ไร้ประโยชน์ต่างๆ 2. หากิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง เช่น ออกกำลังกาย ฝึกเล่นโยคะ ศิลปะ ตกแต่งบ้าน ทำสมาธิ ถ่ายคลิปทำอาหาร การทำอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองไม่ใช่เรื่องเสียเวลา เพราะที่ผ่านมาเราก็ทำให้คนอื่นมามากแล้วเหมือนกัน นี่ก็ถือว่าเป็นการให้รางวัลคนเก่งกับตัวเองจริงๆ 3. งดเข้าโซเชียลบ้าง บางทีข่าวสารต่างๆในโลกออนไลน์ก็ทำให้เราเครียดได้เหมือนกันนะ บางคนไปรับรู้ชีวิตคนอื่นมากเกินไปจนเอามาเปรียบเทียบกับชีวิตตัวเองจนรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ไม่เก่ง อย่าคิดแบบนั้นนะคะ ทุกคนล้วนมีค่าหมด ไม่ใช่ว่าเราไม่เก่ง ตอนนี้ที่มีชีวิตอยู่และผ่านไปแต่ละวันไดนี่ก็เก่งมากแล้ว เราต้องให้กำลังใจตัวเองทุกวัน คิดบวกๆเข้าไว้ และพลังงานด้านบวกก็จะถูกดึงกลับมาหาเราเองค่ะ 4. เปิดใจคุยกับคนใกล้ชิด เป็นวิธีระบายอย่างหนึ่ง เพราะทำให้เรารู้ว่าเราไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว อย่างน้อยก็ยังมีคนที่รักเรา คอยให้กำลังใจเรา เช่นคนในครอบครัว เพื่อนสนิท เราสามารถสื่อสารให้เค้าเข้าใจได้ ที่สำคัญเราต้องปรับทัศนคติของตัวเองด้วย เพราะทัศนคติเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน 5.แบกเป้เที่ยวเลยจ้า ไหนๆก็ไหนๆละ เที่ยวแก้เครียดซะเลย^_^* การไปในสถานที่แปลกใหม่ก็เป็นการเยียวยาตัวเองอย่างดีเลยล่ะ เผลอๆกลับมาเราอาจจะได้ไอเดียดีๆในการไปต่อยอดอะไรได้อีกหลายอย่างอีกด้วย เป็นอย่างไงบ้างคะกับวิธีจัดการกับเจ้าตัวปัญหาที่ทำให้เราหมดไฟ ส่วนตัวมิลค์เองตอนนี้ก็ยังไม่สามารถทำได้หมดทุกข้อ ตอนนี้ทำได้แค่เริ่มต้นที่รักตัวเองเริ่มมีแรงบันดาลใจและหาเป้าหมายในชีวิตให้เจอ ทำให้มิลค์รู้แล้วว่าต่อจากนี้จะมีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร ทำให้การใช้ชีวิตในแต่ละวันไม่สูญเปล่า คิดได้แค่นี้ก็มีความสุขแล้วค่ะ ถ้าเพื่อนๆทำได้ซักข้อสองข้อก็ดีมากแล้ว มิลค์เป็นกำลังใจให้สำหรับทุกคนที่กำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่นะคะ ยังไงก็ต้องผ่านมันไปได้อย่างแน่นอน สำหรับครั้งหน้ามิลค์จะเอาเรื่องอะไรมาฝาก รอติดตามกันด้วยนะ วันนี้ไปแล้วค่ะ บ้ายบาย~ภาพที่1 โดย Engin_Akyurt จาก pixabayภาพที่2 โดย geralt จาก pixabay ภาพที่3 โดย geralt จาก pixabay ภาพที่4 โดย silviarita จาก pixabayภาพที่5 โดย Firmbee จาก pixabayภาพที่6 โดย silviarita จาก pixabayภาพปกโดย silviarita จาก pixabay7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์
Milktea • 19 ก.ย. 66
อ่าน
5 วิธีดูแลตนเอง เมื่อเป็น Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟในการทำงาน
ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout Syndrome คือ ภาวะที่เกิดจากความเครียดสะสมเป็นเวลานานจนทำให้มีความอ่อนล้า อ่อนเพลีย ขาดความสุขในการทำงานรวมไปถึงขาดประสิทธิภาพในการทำงาน บางรายอาจส่งผลไปถึงเรื่องชีวิตประจำวัน รู้สึกหมดเรี่ยวแรง ขาดแรงจูงใจ รู้สึกเบื่อหน่ายสภาพแวดล้อมรอบตัว ซึ่งหากใครที่มีอาการในลักษณะนี้ก็ยังถือว่าไม่รุนแรงมาก แต่หากปล่อยไว้นานโดยที่เรายังอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ๆ อาการเหล่านี้ก็อาจจะรุนแรงขึ้นและสามารถพัฒนาไปเป็นโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน ภาวะหมดไฟในการทำงานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรคใหม่จากองค์กรอนามัยโลก (WHO) หากใครที่เป็นโรคนี้ควรได้รับการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนที่โรคนี้จะอันตรายมากขึ้นจนถึงขั้นกระทบชีวิตของผู้ป่วย แต่ก่อนที่จะปล่อยให้อาการนี้ลุกลามและยากต่อการรับมือ วันนี้เราได้รวบรวมวิธีดูแลตนเองเมื่อมีภาวะ Burnout Syndrome แต่ละวิธีควรจะต้องทำอย่างไรบ้าง เราไปดูกันเลยค่ะ 5 วิธีดูแลตนเอง เมื่อเป็น Burnout Syndrome 1. ลดความเครียด ภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นภาวะที่เกิดจากความเครียดสะสมรวมไปถึงการทำกิจกรรมซ้ำ ๆ เดิม ๆ ดังนั้นนอกจากจะต้องพยายามลดความเครียดให้ได้ เราควรปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการเปิดให้โอกาสให้ตัวเองได้เจอกับสิ่งแปลกใหม่ เช่น ลองรับประทานอาหารที่รสชาติแปลกใหม่ ลองเปลี่ยนวิธีการเดินทางไปทำงาน แบบนี้ก็จะช่วยลดความเบื่อหน่ายที่ตนเองต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ๆ ค่ะ 2. พักผ่อนให้เพียงพอ หลายคนที่มีความเครียดและนอนไม่หลับ หากเราเป็นแบบนี้นาน ๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ และทำให้เราหมดไฟ เบื่อหน่ายกับสิ่งรอบตัวได้ ดังนั้นเราควรจะต้องหาเวลาพักผ่อน ทั้งการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและการผ่อนคลายตัวเองจากความเครียด โดยเราอาจจะออกไปเที่ยวพักผ่อน หรือหากิจกรรมที่ชอบ หรือแม้แต่การออกกำลังกายก็สามารถช่วยได้ค่ะ 3. ระบายให้ใครฟัง การระบายความเครียดออกมาด้วยการพูดคุยกับเพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัว ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยลดความเครียดสะสมได้ ซึ่งหลายครั้งเมื่อเราได้เล่าเรื่องที่กำลังกลุ้มใจให้ใครสักคนฟัง ก็เป็นเหมือนกับการได้ระบายความทุกข์ที่อึดอัดในใจให้ออกไป เมื่อระบายแล้วก็อาจจะช่วยเรียกพลังให้กลับคืนมาและทำให้เรารู้สึกดีขึ้นได้ 4. ให้กำลังใจตัวเองเสมอ กำลังใจจากคนรอบข้างเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราผ่านภาวะนี้ไปได้ แต่นอกเหนือจากนั้นและสำคัญกว่าคือการหมั่นให้กำลังใจตัวเองค่ะ เพราะต่อให้เราจะไม่มีใคร แต่เราก็สามารถที่จะเสริมกำลังใจให้กับตัวเองได้อยู่เสมอโดยที่ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น 5. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายสามารถช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นขึ้นมาได้ เพราะการออกกำลังสามารถทำให้ร่างกายหลั่งสารอะดรีนาลีน ซึ่งสามารถช่วยให้เรารู้สึกตื่นตัว รวมถึงการออกกำลังกายยังช่วยให้เรานอนหลับได้ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับได้อีกด้วยค่ะ บทความที่คุณอาจสนใจ 4 วิธี เติมพลังบวกให้ชีวิต สุขภาพจิตดี ลดความเครียด 10 วิธีมีความสุข ที่จะช่วยให้ผ่านวันเลวร้ายได้แบบสวยๆ
เทรนด์สุขภาพ • 11 ก.ค. 65
อ่าน
หนียังไง!! ภาวะหมดไฟในวัยรุ่น (Burnout Syndrome)
ภาวะหมดไฟในวัยรุ่นไม่ใช่เรื่องตลก (Burnout Syndrome) คุณผู้อ่านเคยเป็นอาการนี้ หรือมีคนรอบข้างเป็นบ้างหรือเปล่าคะ? งั้นเรามาทำความเข้าใจ และเช็คอาการไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลยค่า ที่ผู้เขียนหายไปนานเพราะว่าถูกอาการนี้เข้าแทรกแซงเต็มที่ แล้วใช้เวลาศึกษาเรื่องนี้มาสักระยะหนึ่งแล้วค่ะ กว่าจะลุกขึ้นมาเขียนเล่าประสบการณ์ที่เป็นของตัวเองนี้ ต้องใช้ความพยามมากค่ะ แถมแอบผลัดวันเขียนไปเรื่อย ๆ แบบไม่มีเป้าหมายและสาเหตุ คิดดูจริง ๆ แล้วนี่ไม่ใช่ความขี้เกียจนะคะ แต่เพราะสิ่งดังต่อไปนี้ต่างหากค่ะ1. ความน่าเบื่อของงาน สำหรับหลายท่านที่เป็นอาการนี้ มักจะมีเหตุผลส่วนตัวเสมอแตกต่างกันไป ในกรณีของผู้เขียนที่ชอบความท้าทายในชีวิตมาตั้งแต่เป็นเด็กน้อย เมื่อต้องไปเจอกับงานที่มีสถานการณ์ซ้ำจำเจ ไร้ความตื่นเต้น ไม่ค่อยมีอะไรแปลกใหม่ องค์กรไร้ความชัดเจนด้านนโยบายบริหาร ตนเองเลยมองไม่เห็นการพัฒนาทักษะ ฝีมือและสังคม (อาการก็เหมือนกับหมดใจคนรัก ไปต่อด้วยกันไม่ได้แล้ว แต่ยังต้องฝืนทนอยู่ หึ้ยความรักมันต้องรู้สึกดีสิ งานก็เช่นกัน จนวันหนึ่งพยายามบอกให้ตัวเองมีความสุขไม่ได้แล้ว) 2. บุคลิกภาพส่วนตัวของแต่ละบุคคล กลุ่มที่สุ่มเสี่ยงที่สุดเลย คือ ผู้ที่มีมาตรฐานการทำงานสูง (Perfectionism) ขาดความยืดหยุ่น แน่นอนพวกเขาต้องจริงจัง มีระเบียบ ผลงานต้องดีจนมีความคาดหวังจากคนรอบข้างสูง โดยเพื่อนร่วมงาน ครอบครัวและคนรู้จัก เอาไปเลยฉายาคุณชายคุณนายเนี๊ยบ ที่เต็มที่กับทุกสถานการณ์ (ใส่ใจให้ใจมอบใจร้อยเต็มร้อย พลังเต็มเปี่ยมสุด ๆ ระวังสะดุดล้มเพราะจริง ๆ ไม่ใช่ทุกที่จะต้องการความใส่ใจ แล้วเราก็คิดว่ามันควรมีนะคะ) 3. เจ้านายเย็นชากับปู่ย่าตายายที่ไม่ฟังความ ผู้อาวุโสไม่รับฟังความคิดเห็น เกิดความขัดแย้งกับค่านิยมระหว่างช่วงวัย ได้ทั้งในที่ทำงานและครอบครัว หรือขนาดวัยเดียวกันเติบโตมากันคนละสังคม จูนแนวคิดกันไม่ติด กรณีตัวอย่างที่พบมา คือ เด็กรุ่นใหม่ในเมืองสนใจผลงานของผู้ใหญ่ ว่าเจ๋งกับสังคมมากแค่ไหนถึงจะให้ความเคารพ แต่เด็กในชนบทจะมองเพียงอายุที่เยอะกว่า ไม่กล้าตัดสินใจ และชอบไหว้วานผู้ใหญ่ (ก็ไม่ได้ตัดสินเหมารวมทั้งหมดนะคะ แค่บางส่วนที่เจอมาค่ะ)ปีก่อนเห็นกรมสุขภาพจิตเผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยของ CMMU หัวข้อ BURNOUT IN THE CITY ชาวกรุงวัยทำงานเกินครึ่งเสี่ยงหมดไฟ ผู้เขียนมาสรุปให้สั้น ๆ เพิ่มว่า 1. ผู้หญิงเป็นเยอะกว่าผู้ชาย 2. กลุ่ม Gen Z มีอาการนี้สูงสุด ส่วนน้อยที่สุดจะเป็น Baby boomer 3. สายงานรัฐวิสาหกิจมีอาการเยอะสุด น้อยสุด คือ งานธุรกิจส่วนตัวค่ะ1. ทางด้านอารมณ์ รู้สึกเบื่อเซ็ง ขาดแรงจูงใจ เฉื่อยชา เครียดหดหู่ หรือเรียกอีกอย่างได้ว่าหมด Passion หากอาการรุนแรงขึ้น จะทำให้มีความผิดปกติทางอารมณ์ ในลักษณะหงุดหงิดง่าย 2. ทางด้านร่างกาย ปวดหัว ปวดหลัง ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง เพลียง่ายร่างกายอ่อนล้า3. ทางด้านพฤติกรรม แยกตัวออกจากสังคม หลบหน้าเลี่ยงการพบปะผู้คน นอนเยอะขึ้นแบบไม่เป็นเวลา ติดแอลกอฮอล์ อาการรุนแรง ไปจนถึงพูดจาไม่ได้โดยไร้สติ เอาเป็นว่าหลายท่านที่สงสัยว่าตัวเองมีอาการภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) ไม่ต้องเข้าข่ายตามนี้ 100 % หรอกค่ะ ลองสำรวจตัวเองทบทวนจิตใจดู ว่ามีลักษณะใกล้เคียง 60 % ขึ้นไป ก็ต้องรีบรักษาแล้วนะคะ หรือหลีกเลี่ยงจากอาการนี้โดยวิธีเหล่านี้ค่าลาพักผ่อน เพื่อไปทำกิจกรรมยามว่างที่ชอบ เช่น ดูภาพยนตร์หรือซีรีส์สักเรื่อง ที่ให้แรงบันดาลใจกับชีวิต เมาท์กับเพื่อนให้สนุก สำหรับผู้เขียนแอบแบกกระเป๋าไปเที่ยวมา การผจญภัยก็ช่วยให้หัวใจกระชุ่มกระชวยขึ้นเยอะเลย เลี่ยงการใช้โซเชียลมีเดีย ถอดปลั๊กตัวเองออกจาก Facebook, Instagram, Tiktok ดูนะคะจะได้ไม่ผ่านไม่เจอข้อมูลที่ไม่สร้างสรรค์ และพลังลบ พอวางโทรศัพท์มือถือยาว ๆ ก็รู้สึกว่าเรามีเวลายาวนานขึ้นให้ตัวเองเยอะมากในหนึ่งวันหาอาหารอร่อยกิน อาหารจานโปรดที่ทำให้ใจพองฟู หรือบุฟเฟ่ต์จะเยียวยาทุกสิ่ง นี่มีหลายระดับหลายราคาหลากสัญชาติอาหาร เลือกที่สะดวกและพอใจกันไปค่าพึ่งศาสนา หากพึ่งพาตัวเองสุด ๆ แล้วยังไม่หายดี เห็นทีต้องเข้าวัด เข้าโบสถ์ เข้าสุเหล่า เข้าสำนัก เอาสักที่ตามความศรัทธา สวดมนต์ให้จิตใจผ่องใส สร้างความสบายใจในพื้นที่สงบ ช่วยเยียวยาจิตใจตนเองที่ตัวเราทำร้ายมานานสุดท้ายแล้วต้องปรับทัศนคติให้ดี ว่าความเครียดระดับหนึ่ง (ที่เรียกว่าเล็กน้อย) ก็เป็นสิ่งดีที่ทำให้เราโฟกัสงานมากขึ้น สิ่งนี้ก็เร่งให้งานเสร็จได้ดีเลยแหละค่า ขอให้ภาวะหมดไฟอย่ามาเยือนท่านอีกครั้ง หลีกเลี่ยงการสนทนากับคนที่มีพลังงานลบ ไม่ถึงกับต้องทำทุกสิ่งที่แนะนำนะคะ เลือกเอาที่สะดวกกายสะดวกใจ จะดีต่อตนเองมากเลยค่ะ ขอบอกเลยว่าคุณโชคดีมากค่ะที่พบกับบทความนี้ ฝากติดตามกันต่อไปด้วยนะคะ เพราะผู้เขียนจะมาแชร์ความรู้ด้านสุขภาพจิตในสังคมไทย แบบเข้าใจง่ายกันอีกครั้งค่าผู้เขียน https://creators.trueid.net/@MoonaKข้อมูลงานวิจัยของ CMMU หัวข้อ BURNOUT IN THE CITY ชาวกรุงวัยทำงานเกินครึ่งเสี่ยงหมดไฟhttps://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=3017 เครดิตภาพ :ภาพปก pixabay / canvaภาพที่ 1 pixabay / canvaภาพที่ 2 pexels / canvaภาพที่ 3 pixabay / canvaเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !
MoonaK • 13 ก.พ. 64
อ่าน
เมื่อเราเจอสภาวะหมดไฟในการทำงานหรือ Burnout syndrome
บางครั้งการที่เราทำงานหนักเกินไปจนรู้สึกเบื่อ หรือล้ากับงานที่ทำจนไม่มีกะจิตกะใจจะตื่นเช้ามาทำงานจนเกิดเป็นอาการป่วยทางจิตขึ้นมา แล้วแบบไหนที่เรียกว่าป่วยทางจิตและแบบไหนที่เรียกว่าปกติล่ะ... ถ้าเราเบื่องานเป็นชั่วครั้งเชื่อคราว หรือเบื่อบ้างไม่เบื่อบ้าง เชื่อว่ายังอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ถ้าเราเริ่มหูแว่ว คิดวนๆแต่เรื่องงาน หดกะจิตกะใจ และไม่อยากใช้ช้ชีวิตอยู่ จนเกิดเป็นสภาวะหมดไฟในการทำงาน จนเกิดผลลัพท์เป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวล สภาวะนี้เกิดขึ้นได้เมื่อเราหมดไฟที่จะทำงานแล้วไม่ว่าบรรยากาศหรือเนื้องานจะเป็นยังไง ง่ายดายแค่ไหน เพื่อนร่วมงานดีด้วยยังไง เขาก็จะรู้สึกเบื่อไปหมด ไม่อยากทำ หมดอารมณ์ ไม่มีกะจตกะใจจะทำงานอีก ซึ่งเรื่องครอบครัวหรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้างอาจไม่เกี่ยวกับสภาวะนี้ เพราะเมื่อเราทะเลาะกับคนที่บ้าน เราก็รู้ว่าต้องออกห่าง เดินหนี หลีกเหลี่ยงการทะเลาะ หรือทำยังไงให้สถานการณ์ดีขึ้น แต่เหตุการณ์นี้กลับไม่ใช่ บางทีมันอาจเกิดจากแค่ อารมณ์ ไม่มีกะจิตกะใจจะทำงานเฉยๆก็ได้ซึ่งพอเราตื่นมาแล้ว ไม่อยากไปทำงาน ต่อให้เอางานกลับมาทำที่บ้านก็ไม่อยากทำมัน ไม่อยากไปยุ่งกับมันอีกแล้ว มองว่างานคือภาระ คุณรู้สึกแย่กับตัวเอง และไม่รู้วิธีที่จะแก้ไขมันยังไงดี ทั้งๆที่ไม่มีปัญหาสุขภาพกาย ไม่มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างอย่างทีเราต้องรู้ก่อนก็คือวิธีจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกตัวเอง ถ้าคุณมองว่างานคือภาระ มันก็จะเป็นแค่ภาระ คุณลองมองว่ามันเป็นสิ่งที่สร้างคุณค่าให้ชีวิตและความรู้สึกของคุณมั้ย พยายามอย่าคิดถึงปัญหาหรืออารมณ์ที่เป็นแง่ลบ และเราก็ต้องดูด้วยว่าความเบื่องานนี้ส่งผลกระทบอะไรต่อชีวิตส่วนตัวของเราหรือเปล่า ลูกไม่ได้เรียนต่อ เราไม่มีเงินกินข้าว พ่อแม่ไม่มีเงินจ่ายค่าใช้ แล้วเราสามารถควบคุมได้หรือเปล่าถ้าสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเกิดกับชีวิตเรา คือเราใช้เงินที่เหลืออยู่จนหมดตัวและไม่เหลืออะไรเลย แม้ขายของเก่ากินก็ไม่เหลืออะไรแล้วถ้ามันอยู่ในอารมณ์ที่เรายังอดทนได้เราก็ทนๆไป แต่ถ้าอยู่ในสภาวะอารมณ์เกินขอบเขตที่ควบคุมไม่ได้แล้ว แต่ลาออกไม่ได้ ถ้าอยู่กับมันช่วงสั้นๆก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าอยู่กับมันะยะยาวนาน ก้ต้องกำหนดเป้าหมาย ว่าเราจะทำงานให้เสร็จภายใน 7 วันนี้ แล้วพักผ่อนต่อ เพราะคงไม่มีใครในชีวิตที่ทำแต่งานได้ และไม่มีใครในชีวิตที่พักผ่อนไปได้ตลอด เมื่อเราพักผ่อน ใช้ชีวิตส่วนตัวกับเรื่องที่เราชอบ เราก็คงอยากจะกลับไปทำงานอีกลองเปลี่ยนบรรยากาศในการทำงานและเมื่อทำงานถึงเป้าหมายก็มีการให้รางวัลตัวเอบ้าง เช่น หาเงินพาตัวเองไปเที่ยวในที่ๆไม่เคยไป กินอาหารที่ไม่เคยกิน อ่านหนังสือที่อยากจะอ่านมานาน หรืออยู่บ้านกอดแมวดูหนังที่ชอบ ทำสิ่งต่างๆ แล้วความเครียดก็อาจจะผ่อนลงหรือหายตัวไป หรือไม่ก็ออกไปหาเพื่อนที่ไว้ใจได้ พยายามปลอบใจตัวเองว่าในช่วงที่อารมณ์ดิ่งถึงขั้นดาวน์ที่สุดก็ยังมีอะไรดีๆอยู่รอบๆตัว ถ้าเราเชื่อมั่นในตัวเอง เราจะผ่านมันไปได้แน่นอนค่ะขอบคุณเครดิตรูปภาพ หน้าปกรูปภาพประกอบที่ 1 โดย / 2 / 3 โดย www_slon_pics
Yuri0988 • 23 ต.ค. 63
อ่าน
Burnout Syndrome: ชีวิตหมดไฟ เติมเชื้อเพลิงอย่างไรดี
ชีวิตเราทุกวันนี้เต็มไปด้วยอุปสรรคหลายอย่างที่เข้ามาถาโถมจนทำให้ใครหลาย ๆ คนอาจมีความรู้สึกท้อแท้ หมดหวัง หมดกำลังใจในการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตในประจำวัน ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการของโรค Burnout Syndrome (ภาวะหมดไฟ) มาดูกันว่าเราจะจัดการกับอาการเหล่านี้อย่างไร และเราจะเติมเชื้อเพลิงแพสชันในการใช้ชีวิตอย่างไรให้เรากลับมามีชีวิตชีวากับกิจวัตรประจำวันของเราอีกครั้ง อะไร คือ Burnout Syndrome? ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pixabay ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) คือ อาการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจอันเนื่องมาจากสภาวะตึงเครียดจากการทำงานเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้มีอาการดังกล่าวรู้สึกหมดพลัง หมดกำลัง มีทัศนติในทางที่ไม่ดีต่องานของตนเอง (Bangkokhospital, ม.ป.ป.) ถึงแม้ว่าภาวะหมดไฟมีอาการคล้ายโรคซึมเศร้า แต่ภาวะนี้ไม่ใช่โรคซึมเศร้า อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่าผู้ป่วยอาการนี้อาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าบุคคลทั่วไป (Samitivejhospitals, 2561) ปัจจัยเสียง "หมดไฟ" มีอะไรบ้าง? อินโฟกราฟิกโดยผู้เขียน via Canva จากการศึกษาของผู้เขียนตามบทความของโรงพยาบาลต่าง ๆ ผู้เขียนขอสรุปตามบทความของโรงพยาบาลสมิติเวช โดยบทความนี้ได้ให้ข้อมูลว่ามีอยู่ 3 ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับการทำงาน ปัจจัยเกี่ยวกับความเป็นอยู่ และปัจจัยเกี่ยวกับบุคลิกส่วนตัว ปัจจัยเกี่ยวกับการทำงาน เช่น งานล้นมือ ระยะเวลาในการทำงานมากเกินไป องค์กรไม่มีความชัดเจน ทำงานภายใต้แรงกดดัน งานที่ต้องรับผิดชอบมีปริมาณมากเกินไป และมีบทบาทที่ต้องใช้ความรับผิดชอบสูง และฝืนใจทำงานด้วยความเบื่อหน่าย ปัจจัยเกี่ยวกับความเป็นอยู่ เช่น เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด และการทำงานจนไม่มีเวลาพักผ่อน ปัจจัยเกี่ยวกับบุคลิกส่วนตัว เช่น เป็นคนประเภท Perfectionist เป็นคนเก็บตัว และไม่มีแผนการที่ยืดหยุ่น ฉันจะกลับมามีไฟอีกครั้งได้อย่างไร? รักษาสุขภาพร่างกาย ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pixabay การรักษาสุขภาพร่างกายช่วยบรรเทาอาการหมดไฟได้ เพียงคุณพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่หักโหมจนเกินไป รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที เฉลี่ย 5 ครั้ง/สัปดาห์ นอกจากคุณจะไม่รู้สึกหมดไฟ คุณยังมีสุขภาพร่างกายที่ดีตามมาด้วย ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ปรับสมดุลระหว่างการพักผ่อนและการทำงาน ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pixabay การทำงานมากเกิดไปเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อการหมดไฟ ดังนั้น คุณควรปรับสมดุลนาฬิกาชีวิตของคุณด้วยการทำงาน และพักผ่อนในระยะเวลาที่เหมาะสม ถ้าหากคุณรู้สึกว่าการทำงานของฉันช่างตึงเครียดเสียเหลือเกิน คุณอาจใช้เวลาวันหยุดที่เหลืออยู่ในการพักผ่อน นอกจากนี้ การจัดลำดับความสำคัญก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้งานของคุณสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เมื่องานของคุณออกมาสมบูรณ์แบบ ความเครียดจากการทำงานคงห่างจากคุณไปไกลเลยทีเดียว ลดการใช้โซเชียลมีเดียลงบ้าง ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pixabay การใช้โซเชียลมีเดียทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ฯลฯ อาจทำให้คุณต้องเสียเวลาในการใช้ชีวิตมากจนเกินไป ซึ่งอาจส่งผลต่อการบริหารจัดการความสมดุลระหว่างการทำงานและการพักผ่อน นอกจากนี้ การใช้สื่อสังคมออนไลน์มาก ๆ อาจทำให้คุณเครียดจากการเสพข้อมูลข่าวสารมากจนเกินไปอีกด้วย หาที่ปรึกษาสักคน ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pixabay ในแต่ละวัน คุณอาจจะต้องเจอเรื่องราวมากมายที่ทำให้คุณเครียดจนอยากระบาย ดังนั้น การหาที่ปรึกษาสักคน เป็นทางเลือกที่ดีในการระบายความเครียดที่อัดอั้นอยู่ในใจ เพราะถึงแม้ว่าคุณจะเจอเรื่องแย่มากแค่ไหนก็ตาม แต่การมีที่ปรึกษาทำให้คุณรู้สึกว่าตนเองไม่ได้สู้กับเรื่องเลวร้ายเหล่านั้นเพียงตัวคนเดียว ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pixabay ถ้าคุณรู้สึกว่าสิ่งที่คุณกำลังรับมืออยู่นั้นมากเกินกว่าที่จะรับมือไหว การไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นทางเลือกที่ดีที่จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น และกลับมาเป็นคนมีไฟอีกครั้ง (สรุป รวบรวม และจำแนกประเภทจากบทความของโรงพยาบาลกรุงเทพ และโรงพยาบาลสมิติเวช) อ้างอิง https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/burnout-syndrome https://www.samitivejhospitals.com/th/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%9F-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/ รูปภาพปกทำจาก Canva
ไม่บอกเธอ • 27 มี.ค. 63
อ่าน
Burnout Syndrome สัญญาณอันตราย ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด
ในปัจจุบันคนเริ่มหัดมาใส่ใจสุขภาพร่างกายกันมากขึ้น และสุขภาพจิตของคนกลับแย่ลงเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสังเกตได้จาก การเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคไบโพลาร์เพิ่มขึ้น อันเนื่องมากจากความเครียด ปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคมที่ทำให้คนเกิดการแข่งขันกันตลอดเวลา การทำงานที่นับว่ันจะหาความสุขได้น้อยลง แต่ที่แย่กว่านั้นอาจจะเป็นสังคมการทำงาน ดังนั้นจะมองว่าเรื่องของสุขภาพจิตเป็นเรื่องไกลตัวไม่ได้ การทำงานนั้นมีผลกระทบต่อชีวิตมากกว่าที่คุณคิด ถ้าเกิดภาวะ Burnout Syndrome ขึ้นเราจะมีวิธีในการจัดการและรับมือกับมันอย่างไร Burnout Syndrome คือภาวะหมดไฟในการทำงาน สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลหรือกลุ่มคนที่เครียดกับสภาวะการทำงานเป็นเวลาต่อเนื่องกัน ไม่สามารถจัดการกับความเครียด และความกดดันที่เกิดขึ้นจากการทำงานได้ จนส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจและทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป ทำให้ไม่มีความสุขกับการทำงาน จนอาจจะนำไปสู่ความรู้สึกหมดคุณค่าในตนเองได้ ซึ่งสัญญาอันตรายที่บ่งบอกถึงอาการมีดังนี้ ภาพโดย StartupStockPhotos จาก Pixabay สัญญาณเตือนของกลุ่มคนที่เริ่มมีอาการภาวะหมดไฟในการทำงานนั้นเริ่มสังเกตได้จากจุดเล็ก ๆ นั่นก็คือ ให้สังเกตอารมณ์ของคนเหล่านั้น จะมีอาการหดหู่ ซึมเศร้า เกิดอารมณ์แปรปรวน ไม่พอใจ มีอาการหงุดหงิด เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ซึ่งอาการทางอารมณ์นี้อาจจะดูใกล้เคียงกับไบโพล่าร์ หรือภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้นจำเป็นจะต้องคอยสังเกตให้แน่ชัด สังเกตความคิดและทัศนคติของคนที่มีอาการภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลต่อความคิดและทัศนคติทำให้นิสัยใจคอเปลี่ยนไปเช่น จากอารมณ์แปรปรวน มีการโทษผู้อื่นเสมอ อีกทั้งยังมีอาการระแวงไม่ไว้ใจใคร ทำให้คนเหล่านั้นมีการหนีปัญหา ไม่ยอมรับความจริง และไม่จัดการกับปัญหาที่อยู่ตรงหน้า ทำให้เพื่อนร่วมงานเกิดอาการเบื่อหน่ายกับคนกลุ่มนี้ บางรายอาจจะอยู่ในกลุ่มที่หดหู่ ซึมเศร้า เช่นรู้สึกไม่มั่นใจในการทำงานของตัวเอง ไม่กล้าที่จะรับงานสำคัญ มีความรู้สึกหวาดกลัวหรือระแวง เป็นต้น สังเกตทางด้านพฤติกรรมหรือการกระทำของคนที่อาจจะมีแนวโน้มเป็นภาวะหมดไฟในการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมการขาดงานบ่อย ๆ หรือมาสายเนื่องจากไม่อยากไปทำงาน หรือสังเกตจากการมาสายติดต่อกัน ไม่มีสมาธิในการทำงาน และไม่สนใจงานที่ทำ เนื่องจากไม่มีความสุขในการทำงาน มีข้ออ้างให้การลางานมากมาย ภาพโดย Jan Vašek จาก Pixabay จากจุดสังเกตเหล่านี้จะพบว่า ความเครียดที่สะสมอยู่ในขณะที่ทำงาน ที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ส่งผลให้คนกลุ่มนี้ที่มีอาการหมดไฟในการทำงาน ไม่อยากที่จะทำงานและไม่มีความสุขในการทำงาน ส่งผลในด้านพฤติกรรม ความคิดและทัศนคติของคนเหล่านี้ แล้วยังส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อยู่รอบข้างอีกด้วย โดยทั่วไปแล้ววิธีในการลดพฤติกรรมหรืออาการที่เกิดจากภาวะอาการหมดไฟในการทำงานนั้นสามารถกระทำได้ แต่ต้องเป็นการยินยอมจากคนกลุ่มนี้ มิเช่นนั้นการรักษาหรือการแก้ไขจะไม่เกิดผล ซึ่งสามารถแก้ไขโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเช่น เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานหรือสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อลดความตึงเครียดและความกดดันที่เกิดจากการทำงาน พยายามที่จะเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นให้เพิ่มมากขึ้น และมีการขอความช่วยเหลือหรือปฏิเสธการรับงานที่มากเกินไป เพื่อปรับให้การทำงานนั้นอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การแบ่งเวลาในการออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้ทำการฟื้นฟูและเป็นการพักฟื้นจากสภาวะการเหนื่อยล้าสะสมที่เกิดจากการทำงาน ภาพโดย 200 Degrees จาก Pixabay ในปัจจุบันการพบแพทย์จิตเวช เป็นเรื่องที่เปิดกว้างและสามารถเป็นที่ยอมรับได้ในสังคม เนื่องจากอาการเหล่านี้เมื่อทราบว่าตัวเองเป็นเร็วจะสามารถแก้ไขได้รวดเร็ว และทันท่วงที ก่อนที่อาการจะเป็นหนักมากกว่านี้ ดังนั้นการที่ได้ไปพบปะพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้ทำการปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ อาจจะทำให้สามารถหาทางออกของปัญหา ที่กำลังประสบอยู่ได้ดีกว่าการเก็บปัญหาไว้คนเดียว สุดท้ายนี้ งานเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีเงินเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่งานไม่ควรเป็นตัวขีดคั่นความสุข หรือนำไปใช้คาดหวังจนมากเกินไปในอนาคต การทำงานใดก็ตามนั้น เมื่อความสุขและงานผนวกเข้าไปด้วยกัน จะทำให้งานที่ทำออกมาอยู่ในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ไม่จำเป็นเลยว่างานที่ทำนั้นจะดูเล็กน้อยและดูไร้ค่าสำหรับผู้อื่น แต่งานทุกงานล้วนมีคุณค่าในตัวของมันเอง ภาพโดย Claudio_Scott จาก Pixabay ขอให้ผู้อ่านทุกท่านเปิดใจที่จะยอมรับในสภาวะความตึงเครียดของงาน แต่ไม่ควรหักโหมที่จะทำงานจนมากเกินไป และอย่าเอางานที่ทำงานมาทำที่บ้าน เพื่อให้เวลาตัวเองได้พักผ่อนอยู่กับครอบครัว และใช้ชีวิตมีความสุขบ้าง เวลาเป็นดั่งสายน้ำที่ไม่อาจไหลย้อนกลับ เงินไม่สามารถซื้อเวลาได้ แต่เราสามารถใช้เวลาในการสร้างความสุขได้ ออกแบบภาพหน้าปกโดยใช้ canva
0 • 17 มี.ค. 63