รีเซต

ผลการค้นหา “น้ำท่วม 2565” - ทรูไอดี

ยอดนิยม
ดู
สิทธิพิเศษ
อ่าน
คลิปสั้น
ทาสตูบ ทาสแมว รู้ไว้! วิธีอพยพสัตว์เลี้ยงในภาวะน้ำท่วม
อ่าน

ทาสตูบ ทาสแมว รู้ไว้! วิธีอพยพสัตว์เลี้ยงในภาวะน้ำท่วม

ข่าววันนี้ สถานการณ์น้ำท่วม 2566 เป็นอีกหนึ่งปีที่สร้างผลกระทบอย่างมากและดูเหมือนว่าวิกฤติน้ำท่วมกำลังจะเพิ่มความรุนแรง หลายจังหวัดน้ำท่วมสูงและยังมีหลายจังหวัดที่ต้องเตรียมรับมือกับน้ำจำนวนมากที่จะไหลผ่าน การเตรียมแผนรับมือจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม นอกจากถุงยังชีพ หรือข้อปฏิบัติต่าง ๆ เช่น การใช้ไฟฟ้าให้ปลอดภัยทั้งก่อนและหลังน้ำท่วม ฯลฯ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่แพ้กันเหมือนคนนั่นคือ เหล่าบรรดาสัตว์เลี้ยง ทั้งหมาและแมวที่ต้องดูแลในยามที่สถานการณ์ไม่ปกติด้วยเช่นกัน น้ำท่วม 2566 วันนี้ TrueID รวบรวมวิธีอพยพสัตว์เลี้ยง วิธีดูแลสัตว์เลี้ยงในช่วงน้ำท่วม และวิธีดูแลหลังสถานการณ์น้ำท่วมดีขึ้นแล้ว จะต้องรู้อะไรบ้างและต้องปฏิบัติอย่างไร ตามมาดู จะได้เตรียมพร้อมกัน โดยการอพยพสัตว์ในภาวะวิกฤติต่าง ๆ ต้องศึกษาและทำความเข้าใจ จะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งมี 4 ข้อสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ดังนี้ 1. เตรียมอาหาร ของจำเป็นสัตว์เลี้ยงให้พอ อย่างที่รู้กันดีว่าหากเกิดภาวะน้ำท่วมแล้วกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงอาจใช้เวลานาน การเตรียมอาหารและน้ำสะอาดให้สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญ อย่างน้อยควรเตรียมไว้ 1-2 สัปดาห์ และควรอพยพไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย น้ำท่วมไม่ถึง 2. สายจูง กระเป๋า กรง เตรียมให้พร้อม การติดตามข่าวสาร เกาะติดสถานการณ์ช่วยให้ประเมินได้ระดับหนึ่ง การมีอุปกรณ์ในการอพยพทั้งกร๊สัตว์เล็ก สัตว์ใหญ่ จะช่วยให้ทำได้อย่างรวดเร็ว และทันท่วงที เช่น หากพบว่าน้ำกำลังจะมาแล้ว ให้นำสัตว์เลี้ยงอยู่ใกล้ตัวตลอดเวลา ส่วนน้องแมวจะมีอาการตื่นกลัวได้ง่าย ควรใส่ในกระเป๋า หรือกรง เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องอพยพจะได้ทำอย่างทันท่วงที และสัตว์เลี้ยงจะได้ไม่หนี เพราะตกใจ แต่หากน้ำยังไม่มา ไม่ควรปล่อยสัตว์ออกเพ่นพาน เพราะหากเกิดสถานการณ์ทันทีจะได้พาตัวพวกเขาออกได้ทันที 3. เอกสารวัคซีน อย่าลืมเด็ดขาด สิ่งสำคัญอย่างเอกสารวัคซีนที่เกี่ยกวับสัตว์เลี้ยงของเราควรใส่ซองพลาสิกกันน้ำเอาไว้ และเก็บรวมไว้กับเอกสารของเราติดตัวไว้เสมอเมื่อต้องอพยพ 4. ทาสตูบ ทาสแมว รู้ไว้! ห้ามทิ้งสัตว์เลี้ยงไว้ในบ้านเด็ดขาด หากใครจำเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้วได้ จะมีประกาศแจ้งไม่ให้ทิ้งสัตว์เลี้ยงไว้ในบ้าน เนื่องจากควันพิษและความร้อนทำให้สัตว์เลี้ยงเป็นโรคฮีสสโตรกเสียชีวิตได้ง่าย ในสถานการณ์น้ำท่วมแบบนี้ก็เช่นกัน อย่าปล่อยให้สัตว์ หมาน้อย แมวน้อย ต้องเผชิญชะตากรรม เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ วิธีดูแลสัตว์เลี้ยงในช่วงน้ำท่วม หากตกอยู่ในสถานการณ์ที่น้ำเริ่มเข้าบ้าน และต้องใช้ชีวิตอยู่กับสถานการณ์แบบนี้อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ต้องทำหากคุณมีสัตว์เลี้ยง คือ 1. ห้ามล่ามสัตว์เลี้ยงไว้กับที่เด็ดขาด และควรพาสัตว์เลี้ยงเข้ามาอยู่ในบ้านด้วยกัน สำหรับบ้านสองชั้น ควรพาสัตว์เลี้ยงขึ้นมาอยู่ด้วยกันที่ชั้นบนของบ้านจะดีที่สุด อย่าปล่อยอยู่ชั้นล่าง เพราะเสี่ยงไม่ปลอดภัยทั้งเรื่องไฟดูด หรือสัตวืมีพิษต่าง ๆ ห้ามพาสัตว์เลี้ยงไปสัมผัสกับสัตว์ตัวอื่นนอกบ้าน เพื่อป้องกันเชื้อโรคและอันตราย อย่าลืมใช้ถุงเก็บเศษอาหารและอุจจาระของสัตว์เลี้ยงให้ถูกสุขอนามัย เพื่อลดแหล่งอาหารของหนู แมลงวัน และสัตว์พาหะอื่น ๆ ที่สามารถนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยงได้ หมั่นทำความสะอาดที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงเสมอ วิธีดูแลสัตว์เลี้ยงในช่วงหลังน้ำท่วม เมื่อสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลายลงแล้ว สิ่งที่ต้องปฏิบัติและดูแลสัตว์เลี้ยงหลังน้ำท่วม ได้แก่ เมื่อน้ำลดลงแล้ว หากฝากสัตว์เลี้ยง หมา แมวไว้กับศุนย์พักพิง ศูนย์อพยพควรรีบไปรับกลับมาให้เร็วที่สุด เติมอาหารอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ เพราะสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอาหารและน้ำน้อยกว่าปกติในช่วงน้ำท่วม ควรให้สัตวืเลี้ยงอยู่ในบ้าน อย่าปล่อยสัตว์เลี้ยงออกไปนอกบ้านทันทีหลังน้ำลด เพราะอาจมีเศษแก้ว เศษตะปู หรือสิ่งของอันตรายที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ หากสัตวืเลี้ยงมีอาการป่วย ควรรีบพาไปพบแพทย์ หมั่นทำความสะอาดที่อยู่อาศัยและของใช้ของสัตว์เลี้ยงให้สะอาดอยู่เสมอ และนี่คือคู่มือในการดูแลสัตว์เลี้ยงในสถานการณ์ที่ไม่ปกติทั้ง สถานการณ์น้ำท่วม หรือไฟไหม้ สามารถนำไปปรับใช้ สิ่งที่สำคัญคือ ห้ามทิ้งสัตว์เลี้ยงและติดตามข่าวสาร เพื่อประเมินสถานการณ์ จะได้รับมือเมื่อภัยมาได้ทันท่วงที รู้ไว้นะ TrueID ห่วงเสมอ ข้อมูล : กรมปศุสัตว์, กรมควบคุมโรค ข่าวเกี่ยวข้อง : รวมเบอร์ฉุกเฉินสู้ภัย 'น้ำท่วม' ดาวน์โหลด 4 App นี้ไว้! รับมือสถานการณ์น้ำท่วม รู้จัก อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร จากสถานการณ์น้ำท่วมโคราช 10 วิธีรับมือฤดูฝน ปี 2566 ขับขี่ยังไงให้ปลอดภัยในฤดูฝน น้ำท่วมรถ ประกันจ่ายไหม? ป้ายทะเบียนรถหลุดหาย ตอนน้ำท่วม ต้องทํายังไง? รวม เหตุการณ์ "น้ำท่วมใหญ่" ในประเทศไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน วิธีป้องกัน บ้านน้ำท่วม จากเหตุ ฝนตกหนัก ต้องทำอย่างไรบ้าง เปิดวิธีรักษา โรคน้ำกัดเท้า โรคร้ายจากสถานการณ์น้ำท่วม ยาวนานหลายวัน เตือน! โรคที่ควรเฝ้าระวังในฤดูฝน สมุนไพรอะไรบ้าง? ไว้เสริมเกราะก่อนป่วยช่วงหน้าฝน ออมสินออกสินเชื่อช่วยน้ำท่วม 'พายุเตี้ยนหมู่' -------------------- เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก

วิธีใช้ไฟฟ้าใน "สถานการณ์น้ำท่วม" ปลอดภัยไว้ดีที่สุด
อ่าน

วิธีใช้ไฟฟ้าใน "สถานการณ์น้ำท่วม" ปลอดภัยไว้ดีที่สุด

ข่าววันนี้ สถานการณ์น้ำท่วม 2566 หลายจังหวัดยังคงได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก และหลายพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำท่วม น้ำท่วมบ้าน วันนี้ TrueID มีทริคดี ๆ ในการใช้ไฟฟ้าให้ปลอดภัยในภาวะน้ำท่วม โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ ตั้งแต่ก่อนเกิดน้ำท่วม ขณะน้ำท่วม และหลังน้ำท่วม จะมีข้อปฏิบัติอย่างไรมาศึกษาไปพร้อมกัน เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์จะได้เตรียมความพร้อมและรับมือกับสถานการณ์จากอุทกภัยที่เกิดขึ้นได้ทุกปี วิธีใช้ไฟฟ้าใน "สถานการณ์น้ำท่วม" ปลอดภัยไว้ดีที่สุด ทั้งนี้ ข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊กการไฟฟ้านครหลวง MEA ได้แนะนำถึงการใช้ไฟฟ้าให้ปลอดภัยในภาวะน้ำท่วม โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ กับการปฏฺบัติที่ถูกต้องดังนี้ 1. ก่อนเกิดน้ำท่วม เมื่อได้รับสัญญาณเตือนภัยภายในชุมชน หรือข่าวจากหน่วยงานต่าง ๆ ถึงสถานการณ์น้ำท่วม และหากพื้นที่ที่เราอยู่นั้น เป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมไม่ว่าจะเป็นกระเป๋ายังชีพฉุกเฉินแล้ว สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือ เรื่องของไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่อาจเป็นชนวนทำให้เกิดไฟฟ้าดูดในภาวะน้ำท่วมได้ ดังนั้น ก่อนเกิดน้ำท่วม ควรปลดเมนเบรกเกอร์ โดยหากมีบ้าน 2 ชั้น ควรมีเบรกเกอร์แยกทีละชั้นและทำการย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าขึ้นที่สูงไม่ให้น้ำท่วมถึงได้ เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า พัดลม เป็นต้น 2. ขณะน้ำท่วม เมื่อทำข้อแรกแล้ว สิ่งที่ต้องทำถัดมาเมื่อน้ำท่วมบ้าน หรือพื้นที่แล้ว อย่าสัมผัสสวิตซ์ และห้ามใช้ไฟฟ้าขณะตัวเปียก หรือสัมผัสน้ำ สำหรับใครที่มีบ้านชั้นเดียว หลังจากยำเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ที่สูงแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือ งดใช้ไฟฟ้าแล้วออกจากบ้านไปอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย ห้ามใช้งานปลั๊กและสวิตซ์ไฟฟ้าที่น้ำท่วมถึงเด็ดขาด รวมทั้งควรยืนที่แห้งและสวมรองเท้ายางตลอดเวลา 3. หลังน้ำท่วม หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย กลับสู่ภาวะปกติ อย่าเพิ่มใช้เครื่องไฟฟ้าทันที แต่ควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ก่อนว่ามีความสมบูรณ์พร้อมใช้หรือไม่ จะได้เพิ่มความปลอดภัยของการใช้งานก่อน เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้าย สิ่งที่สำคัญการมีสติจะช่วยให้ทุกคนรอดและปลอดภัย TrueID ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบภัยทุกท่าน ข่าวเกี่ยวข้อง : รวมเบอร์ฉุกเฉินสู้ภัย 'น้ำท่วม' ดาวน์โหลด 4 App นี้ไว้! รับมือสถานการณ์น้ำท่วม รู้จัก อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร จากสถานการณ์น้ำท่วมโคราช 10 วิธีรับมือฤดูฝน ปี 2566 ขับขี่ยังไงให้ปลอดภัยในฤดูฝน น้ำท่วมรถ ประกันจ่ายไหม? ป้ายทะเบียนรถหลุดหาย ตอนน้ำท่วม ต้องทํายังไง? รวม เหตุการณ์ "น้ำท่วมใหญ่" ในประเทศไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน วิธีป้องกัน บ้านน้ำท่วม จากเหตุ ฝนตกหนัก ต้องทำอย่างไรบ้าง เปิดวิธีรักษา โรคน้ำกัดเท้า โรคร้ายจากสถานการณ์น้ำท่วม ยาวนานหลายวัน เตือน! โรคที่ควรเฝ้าระวังในฤดูฝน สมุนไพรอะไรบ้าง? ไว้เสริมเกราะก่อนป่วยช่วงหน้าฝน ออมสินออกสินเชื่อช่วยน้ำท่วม 'พายุเตี้ยนหมู่' -------------------- เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก กดเลย community แห่งความบันเทิง ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

สัตว์มีพิษ! ที่ต้องระวังช่วงน้ำท่วม ลดเสี่ยงอันตราย
อ่าน

สัตว์มีพิษ! ที่ต้องระวังช่วงน้ำท่วม ลดเสี่ยงอันตราย

ข่าววันนี้ น้ำท่วม 2566 มาทีไรนอกจากจะสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน สัตว์เลี้ยง พื้นที่การเกษตร ทรัพย์สินต่าง ๆ เสียหาย สิ่งที่ต้องระวังอย่างมากและห้ามมองข้ามเด้ดขาด เพราะเสี่ยงเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ นั่นคือ สัตว์มีพิษในช่วงน้ำท่วมแบบนี้ สัตว์มีพิษ! ที่ต้องระวังช่วงน้ำท่วม ลดเสี่ยงอันตราย วันนี้ TrueID มีคำแนะนำดี ๆ มาให้ทุกคนได้ปฏิบัติกัน หากเจอสัตว์มีพิษเหล่านี้ จะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง 1. งูพิษ วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากถูกกัด รีบโทรแจ้งสายฉุกเฉิน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือจากแพทย์ ห้ามกินยาที่มีส่วนผสมของแอสไพริน ใช้ผ้ายืดหรือหาผ้าสะอาดพันรอบอวัยวะส่วนที่ถูกกัด ดามด้วยของแข็งเพื่อลดการเคลื่อนไหวของอวัยวะบริเวณที่ถูกกัด แล้วรีบนำส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด 2. แมงป่อง วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากถูกกัด ทำความสะอาดบริเวณแผลด้วยน้ำสะอาด สามารถประคบเย็นได้ครั้งละประมาณ 10 นาที เพื่อลดอาการบวมเฉพาะที่ ถ้ามีอาการปวดสามารถทานยาพาราเซตามอลเพื่อระงับอาการปวดได้ 3. ตะขาบ วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากถูกกัด ทำความสะอาดบริเวณแผลด้วยน้ำสะอาด ทานยาพาราเซตามอลแก้ปวด ใช้ยาหม่องทาบางๆเบาๆ ไม่กดนวด ตรงบริเวณที่ถูกตะขาบกัด หากมีอาการปวดมากให้ใช้น้ำอุ่นประคบที่แผลประมาณ 20 นาที หากท่านปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วมีอาการแพ้รุนแรงเช่นบวมบริเวณใบหน้า หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หน้ามืดเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ช็อคหมดสติ ให้รีบโทรสายด่วนฉุกเฉิน 1669 เพื่อนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที ข้อมูล : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ -สพฉ.1669 ข่าวเกี่ยวข้อง : รวมเบอร์ฉุกเฉินสู้ภัย 'น้ำท่วม' ดาวน์โหลด 4 App นี้ไว้! รับมือสถานการณ์น้ำท่วม รู้จัก อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร จากสถานการณ์น้ำท่วมโคราช 10 วิธีรับมือฤดูฝน ปี 2566 ขับขี่ยังไงให้ปลอดภัยในฤดูฝน น้ำท่วมรถ ประกันจ่ายไหม? รวมทุกข้อสงสัย ขั้นตอนการเคลมประกัน รถจมน้ำ น้ำท่วมรถ น้ำเข้ารถ ต้องทำอย่างไรบ้าง ป้ายทะเบียนรถหลุดหาย ตอนน้ำท่วม ต้องทํายังไง? รวม เหตุการณ์ "น้ำท่วมใหญ่" ในประเทศไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน วิธีป้องกัน บ้านน้ำท่วม จากเหตุ ฝนตกหนัก ต้องทำอย่างไรบ้าง วิธีใช้ไฟฟ้าใน "สถานการณ์น้ำท่วม" ปลอดภัยไว้ดีที่สุด เปิดวิธีรักษา โรคน้ำกัดเท้า โรคร้ายจากสถานการณ์น้ำท่วม ยาวนานหลายวัน เตือน! โรคที่ควรเฝ้าระวังในฤดูฝน สมุนไพรอะไรบ้าง? ไว้เสริมเกราะก่อนป่วยช่วงหน้าฝน ออมสินออกสินเชื่อช่วยน้ำท่วม 'พายุเตี้ยนหมู่' ย้อนเหตุการณ์น้ำท่วม ปี 2554 : ปีนี้จะท่วมหนักซ้ำรอยไหม? มาทำความเข้าใจกันหน่อย -------------------- เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก

เช็คเงินน้ำท่วม 2566 โอนเงินเยียวยาน้ำท่วม 5,000 - 9,000 บาท สิ้นสุดวันไหน?
อ่าน

เช็คเงินน้ำท่วม 2566 โอนเงินเยียวยาน้ำท่วม 5,000 - 9,000 บาท สิ้นสุดวันไหน?

เงินเยียวยาล่าสุด เช็คเงินน้ำท่วม ปภ.แจ้ง โอนเงินเยียวยาน้ำท่วม สิ้นสุดวันไหน โดยผู้ที่เข้าเกณฑ์จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 - 9,000 บาท/ครัวเรือน เช็คเงินน้ำท่วม 2566 เงินน้ำท่วม เข้าวันไหน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย รายงานความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ธนาคารออมสินได้โอนจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยแล้วจำนวน 14 ครั้ง จำนวน 553,795 ครัวเรือน เป็นเงิน 3,503,555,000 บาท (เมื่อวันที่ 20,24,31 ม.ค. 2566 และ 1,2,3,6,7,8,9,13,14,15,17 ก.พ. 2566) และเตรียมโอนจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดังนี้ วิธีสมัครพร้อมเพย์รับเงินน้ำท่วม เงินน้ำท่วมไม่เข้า จังหวัดไหนบ้าง สำหรับกรณีพื้นทีประสบอุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัด 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร ตรัง นครปฐม นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พัทลุง ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี และอ่างทอง ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีจ่ายเงินช่วยเหลือเช่นเดียวกันกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้ ครัวเรือนที่จะได้รับความช่วยเหลือในกรณีนี้จะต้องไม่เป็นครัวเรือนที่ได้รับการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำรวจหรือผู้ประสบภัยยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือผ่านระบบ Online ได้ที่ (https://flood65-2.disaster.go.th) หรือยื่นคำร้องด้วยตนเอง ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่/สำหรับผู้ประสบภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครสามารถยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานเขตในพื้นที่ ภายในวันที่ 29 มีนาคม 2566 โอนเงินเยียวยาน้ำท่วม 5,000 - 9,000 บาท สิ้นสุดวันไหน? กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ ธนาคารออมสิน เร่งรัดการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 เมษายน 2566 เช็คเงินเยียวยาน้ำท่วม 2566 จ่ายให้ผู้ประสบอุทกภัยอย่างไร? ครั้งที่ 15 ปภ.ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 33 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กำแพงเพชรขอนแก่น ชลบุรี ชัยนาท ชัยภูมิ เชียงราย เชียงใหม่ นครปฐม นครสวรรค์ นครราชสีมา ปทุมธานี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร เพชรบูรณ์ ภูเก็ต มหาสารคาม ลพบุรี ลำปาง ศรีสะเกษ สมุทรปราการ สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุรินทร์ สตูล หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อุทัยธานี และอุบลราชธานี ให้ธนาคารออมสินโอนจ่ายเงินอีกจำนวน 19,175 ครัวเรือน เป็นเงิน 110,193,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินได้ในวันที่ 24 ก.พ.66 ครั้งที่ 14 ปภ. ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบภัยในพื้นที่ 24 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา พิจิตร ลพบุรี นนทบุรี อ่างทอง นครราชสีมา นครปฐม ชัยภูมิ ปราจีนบุรี พิษณุโลก พะเยา ฉะเชิงเทรา สมุทรสงคราม เชียงราย สระบุรี ระยอง ตาก ศรีสะเกษ สิงห์บุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สุโขทัย ร้อยเอ็ด และสตูล ให้ธนาคารออมสินจ่ายเงิน 58,894 ครัวเรือน เป็นเงิน 329,866,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินฯ ได้วันที่ 17 ก.พ.66 ครั้งที่ 12 ปภ.ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบภัยในพื้นที่ 15 จังหวัด ได้แก่ สตูล ร้อยเอ็ด สุโขทัย มหาสารคาม ราชบุรี สิงห์บุรี อุบลราชธานี ฉะเชิงเทรา ตรัง บุรีรัมย์ ลำพูน เพชรบูรณ์ น่าน ระนอง และลพบุรี ให้ธนาคารออมสินจ่ายเงิน จำนวน 22,616 ครัวเรือน เป็นเงิน 130,350,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินฯ ได้วันที่ 14 ก.พ.66 ครั้งที่ 11 ปภ.ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบภัยในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา และศรีสะเกษ ให้ธนาคารออมสินจ่ายเงิน จำนวน 27,475 ครัวเรือน เป็นเงิน 150,157,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินฯ ได้วันที่ 13 ก.พ.66 ครั้งที่10 ปภ.ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบภัยในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย นครนายก หนองบัวลำภู สุราษฎ์ธานี ขอนแก่น ปราจีนบุรี หนองคาย สุพรรณบุรี ยโสธร ให้ธนาคารออมสินจ่ายเงิน 52,587 ครัวเรือน เป็นเงิน 381,555,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินฯ ได้วันที่ 9 ก.พ.66 ครั้งที่ 9 ปภ. ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้ธนาคารออมสินจ่ายเงิน 43,375 ครัวเรือน เป็นเงิน 237,661,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินฯ ได้ในวันที่ 8 ก.พ 66 ครั้งที่ 7 ปภ. ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ รอยเอ็ด ตาก ปทุมธานี และนครปฐม ให้ธนาคารออมสินจ่ายเงิน 27,175 ครัวเรือน เป็นเงิน 173,425,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินฯ เงินน้ำท่วม เข้าวันที่ 6 ก.พ 66 ครั้งที่ 6 ปภ. ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 17 จังหวัด สุโขทัย ศรีสะเกษ พระนครศรีอยุธยา พิจิตร ขอนแก่น อุบลราชธานี ลพบุรี ลำปาง จันทบุรี เพชรบุรี ชัยภูมิ ภูเก็ต ชัยนาท ชลบุรี พะเยา กาฬสินธุ์ และสตูล ให้ธนาคารออมสินจ่ายเงิน 59,554 ครัวเรือน เป็นเงิน 372,540,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินฯ เงินน้ำท่วม เข้าวันที่ 3 ก.พ 66 ครั้งที่ 5 ปภ. ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ เชียงราย นนทบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และอุทัยธานี ให้ธนาคารออมสินจ่ายเงิน 59,744 ครัวเรือน เป็นเงิน 344,158,000 บาท เงินน้ำท่วม เข้าวันที่ 2 ก.พ.66 โอนจ่ายเงินสำเร็จ 57,317 ครัวเรือน เป็นเงิน 330,675,000 บาท ทั้งนี้ ปภ.อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบกรณีข้อมูลที่ตีกลับ รวมจำนวนทั้งสิ้น 6,772 ครัวเรือน และ ปภ.อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบข้อมูลในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ สุโขทัย สุพรรณบุรี ขอนแก่น อุทัยธานี ปทุมธานี อุบลราชธานี เพชรบูรณ์ กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ กาญจนาบุรี และทุกจังหวัดที่มีข้อมูลตีกลับ อย่างไรก็ตาม ขอให้ผู้ประสบภัยที่ได้ยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือฯ ตรวจสอบบัญชีธนาคารของตนเองว่ามีการผูกบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) กับเลขบัตรประชาชนหรือไม่ หากยังไม่มีการผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนขอให้รีบดำเนินการ เพื่อให้การจ่ายเงินเป็นไปด้วยความรวดเร็ว เช็คเงินเยียวยาน้ำท่วม 2566 เงินช่วยเหลือน้ำท่วม กี่บาท ครัวเรือนละ 5,000 บาท จำนวน 8,380 ครัวเรือน จำนวนเงิน 41,900,000 บาท ครัวเรือนละ 7,000 บาท จำนวน 4,738 ครัวเรือน จำนวนเงิน 33,166,000 บาท ครัวเรือนละ 9,000 บาท จำนวน 26,308 ครัวเรือน จำนวนเงิน 236,772,000 บาท เช็คเยียวยาน้ำท่วม 2566 เข้าบัญชีวันไหน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะได้ส่งข้อมูลให้ธนาคารออมสินเพื่อโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้ประสบภัยต่อไป โดยจะเริ่มจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยชุดแรกได้ภายในวันที่ 20 มกราคม 2566 เช็ควิธีขอรับเงินช่วยเหลือน้ำท่วม สำหรับผู้ประสบอุทกภัยที่มีข้อสงสัย หรือจะต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่กองช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หมายเลขโทรศัพท์ 0-2637-3511 บทความเกี่ยวกับ เช็คเงินน้ำท่วม 2566 เช็คเงื่อนไขเงินเยียวยาน้ำท่วม ได้กี่บาท ใครได้บ้าง ช่องทางเช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ผ่านเว็บไซต์ เปิดสาเหตุเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ไม่เข้า -------------------- เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม. คลิกเลย TrueID Community

เช็คเงินน้ำท่วม เข้าวันไหน โอนเงินเยียวยาน้ำท่วม 5,000 - 9,000 บาท
อ่าน

เช็คเงินน้ำท่วม เข้าวันไหน โอนเงินเยียวยาน้ำท่วม 5,000 - 9,000 บาท

เงินเยียวยาล่าสุด เช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วมปภ.แจ้ง โอนเงินเยียวยาน้ำท่วม วันไหน โดยผู้ที่เข้าเกณฑ์จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 - 9,000 บาท/ครัวเรือน เงินเยียวยาน้ำท่วม ปี 65 ดีเดย์ล็อตแรก 20 ม.ค.นี้ เช็คเงื่อนไขเงินเยียวยาน้ำท่วม ได้กี่บาท ใครได้บ้าง คลิก ช่องทางเช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ผ่านเว็บไซต์ คลิก เปิดสาเหตุเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ไม่เข้า คลิก เงินช่วยเหลือน้ำท่วม เงินน้ำท่วม เข้าวันไหน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย รายงานความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ธนาคารออมสินได้โอนจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยแล้วจำนวน 14 ครั้ง จำนวน 553,795 ครัวเรือน เป็นเงิน 3,503,555,000 บาท (เมื่อวันที่ 20,24,31 ม.ค. 2566 และ 1,2,3,6,7,8,9,13,14,15,17 ก.พ. 2566) และเตรียมโอนจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดังนี้ วิธีสมัครพร้อมเพย์รับเงินน้ำท่วม คลิก เงินน้ำท่วมไม่เข้า จังหวัดไหนบ้าง คลิก สำหรับกรณีพื้นทีประสบอุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัด 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร ตรัง นครปฐม นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พัทลุง ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี และอ่างทอง ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีจ่ายเงินช่วยเหลือเช่นเดียวกันกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้ ครัวเรือนที่จะได้รับความช่วยเหลือในกรณีนี้จะต้องไม่เป็นครัวเรือนที่ได้รับการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำรวจหรือผู้ประสบภัยยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือผ่านระบบ Online ได้ที่ (https://flood65-2.disaster.go.th) หรือยื่นคำร้องด้วยตนเอง ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่/สำหรับผู้ประสบภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครสามารถยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานเขตในพื้นที่ ภายในวันที่ 29 มีนาคม 2566 ครั้งที่ 15 ปภ.ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 33 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กำแพงเพชรขอนแก่น ชลบุรี ชัยนาท ชัยภูมิ เชียงราย เชียงใหม่ นครปฐม นครสวรรค์ นครราชสีมา ปทุมธานี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร เพชรบูรณ์ ภูเก็ต มหาสารคาม ลพบุรี ลำปาง ศรีสะเกษ สมุทรปราการ สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุรินทร์ สตูล หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อุทัยธานี และอุบลราชธานี ให้ธนาคารออมสินโอนจ่ายเงินอีกจำนวน 19,175 ครัวเรือน เป็นเงิน 110,193,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินได้ในวันที่ 24 ก.พ.66 ครั้งที่ 14 ปภ. ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบภัยในพื้นที่ 24 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา พิจิตร ลพบุรี นนทบุรี อ่างทอง นครราชสีมา นครปฐม ชัยภูมิ ปราจีนบุรี พิษณุโลก พะเยา ฉะเชิงเทรา สมุทรสงคราม เชียงราย สระบุรี ระยอง ตาก ศรีสะเกษ สิงห์บุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สุโขทัย ร้อยเอ็ด และสตูล ให้ธนาคารออมสินจ่ายเงิน 58,894 ครัวเรือน เป็นเงิน 329,866,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินฯ ได้วันที่ 17 ก.พ.66 ครั้งที่ 12 ปภ.ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบภัยในพื้นที่ 15 จังหวัด ได้แก่ สตูล ร้อยเอ็ด สุโขทัย มหาสารคาม ราชบุรี สิงห์บุรี อุบลราชธานี ฉะเชิงเทรา ตรัง บุรีรัมย์ ลำพูน เพชรบูรณ์ น่าน ระนอง และลพบุรี ให้ธนาคารออมสินจ่ายเงิน จำนวน 22,616 ครัวเรือน เป็นเงิน 130,350,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินฯ ได้วันที่ 14 ก.พ.66 ครั้งที่ 11 ปภ.ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบภัยในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา และศรีสะเกษ ให้ธนาคารออมสินจ่ายเงิน จำนวน 27,475 ครัวเรือน เป็นเงิน 150,157,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินฯ ได้วันที่ 13 ก.พ.66 ครั้งที่10 ปภ.ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบภัยในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย นครนายก หนองบัวลำภู สุราษฎ์ธานี ขอนแก่น ปราจีนบุรี หนองคาย สุพรรณบุรี ยโสธร ให้ธนาคารออมสินจ่ายเงิน 52,587 ครัวเรือน เป็นเงิน 381,555,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินฯ ได้วันที่ 9 ก.พ.66 ครั้งที่ 9 ปภ. ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้ธนาคารออมสินจ่ายเงิน 43,375 ครัวเรือน เป็นเงิน 237,661,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินฯ ได้ในวันที่ 8 ก.พ 66 ครั้งที่ 7 ปภ. ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ รอยเอ็ด ตาก ปทุมธานี และนครปฐม ให้ธนาคารออมสินจ่ายเงิน 27,175 ครัวเรือน เป็นเงิน 173,425,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินฯ เงินน้ำท่วม เข้าวันที่ 6 ก.พ 66 ครั้งที่ 6 ปภ. ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 17 จังหวัด สุโขทัย ศรีสะเกษ พระนครศรีอยุธยา พิจิตร ขอนแก่น อุบลราชธานี ลพบุรี ลำปาง จันทบุรี เพชรบุรี ชัยภูมิ ภูเก็ต ชัยนาท ชลบุรี พะเยา กาฬสินธุ์ และสตูล ให้ธนาคารออมสินจ่ายเงิน 59,554 ครัวเรือน เป็นเงิน 372,540,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินฯ เงินน้ำท่วม เข้าวันที่ 3 ก.พ 66 ครั้งที่ 5 ปภ. ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ เชียงราย นนทบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และอุทัยธานี ให้ธนาคารออมสินจ่ายเงิน 59,744 ครัวเรือน เป็นเงิน 344,158,000 บาท เงินน้ำท่วม เข้าวันที่ 2 ก.พ.66 โอนจ่ายเงินสำเร็จ 57,317 ครัวเรือน เป็นเงิน 330,675,000 บาท ทั้งนี้ ปภ.อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบกรณีข้อมูลที่ตีกลับ รวมจำนวนทั้งสิ้น 6,772 ครัวเรือน และ ปภ.อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบข้อมูลในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ สุโขทัย สุพรรณบุรี ขอนแก่น อุทัยธานี ปทุมธานี อุบลราชธานี เพชรบูรณ์ กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ กาญจนาบุรี และทุกจังหวัดที่มีข้อมูลตีกลับ อย่างไรก็ตาม ขอให้ผู้ประสบภัยที่ได้ยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือฯ ตรวจสอบบัญชีธนาคารของตนเองว่ามีการผูกบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) กับเลขบัตรประชาชนหรือไม่ หากยังไม่มีการผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนขอให้รีบดำเนินการ เพื่อให้การจ่ายเงินเป็นไปด้วยความรวดเร็ว เงินช่วยเหลือน้ำท่วม กี่บาท ครัวเรือนละ 5,000 บาท จำนวน 8,380 ครัวเรือน จำนวนเงิน 41,900,000 บาท ครัวเรือนละ 7,000 บาท จำนวน 4,738 ครัวเรือน จำนวนเงิน 33,166,000 บาท ครัวเรือนละ 9,000 บาท จำนวน 26,308 ครัวเรือน จำนวนเงิน 236,772,000 บาท เงินน้ำท่วม เข้าบัญชีวันไหน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะได้ส่งข้อมูลให้ธนาคารออมสินเพื่อโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้ประสบภัยต่อไป โดยจะเริ่มจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยชุดแรกได้ภายในวันที่ 20 มกราคม 2566 เช็ควิธีขอรับเงินช่วยเหลือน้ำท่วม คลิก สำหรับผู้ประสบอุทกภัยที่มีข้อสงสัย หรือจะต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่กองช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หมายเลขโทรศัพท์ 0-2637-3511 -------------------- เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม. คลิกเลย TrueID Community

ช่องทางเช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ผ่านเว็บไซต์ รับเงินเยียวยา 5,000 - 9,000 บาท
อ่าน

ช่องทางเช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ผ่านเว็บไซต์ รับเงินเยียวยา 5,000 - 9,000 บาท

เช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม เงินเยียวยาน้ำท่วม5,000, 7,000 และ 9,000 บาท/ครัวเรือนเช็คเงินสถานะเงินเยียวยาน้ำท่วม ได้วันไหน ทำอย่างไรบ้าง เช็คเงื่อนไขเงินเยียวยาน้ำท่วม ได้กี่บาท ใครได้บ้าง คลิก เปิดสาเหตุเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ไม่เข้า คลิก วิธีสมัครพร้อมเพย์รับเงินน้ำท่วม คลิก เงินช่วยเหลือน้ำท่วม เงินช่วยเหลือน้ำท่วม ครม.เห็นชอบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 เพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาเบื้องต้นแก่ครอบครัวผู้ประสบอุทกภัยเป็นกรณีพิเศษ เพื่อเป็นเงินเยียวยาน้ำท่วม พร้อมทั้งอนุมัติกรอบวงเงิน 6,258.54 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จำนวนใน 66 จังหวัด ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือ มีอัตราตั้งแต่ 5,000-9,000 บาท ได้แก่ กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันตั้งแต่ 1 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือถูกน้ำท่วมขังเกินกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน ได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ได้รับเงินช่วยเหลือ 7,000 บาท กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขังติดต่อกันเกิน 60 วัน ขึ้นไปให้ความช่วยเหลือครัวเรือนละ 9,000 บาท ช่องทางเช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม สำหรับประชาชนที่ได้ยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเรียบร้อยแล้ว สามารถติดตามสถานะการดำเนินการของตนเองได้ที่ https://flood65.disaster.go.th หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หมายเลขโทรศัพท์ 0-2637-3511 -------------------- เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม. คลิกเลย TrueID Community

เงินน้ำท่วมไม่เข้า จังหวัดไหนบ้าง เช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม 5,000 - 9,000 บาท
อ่าน

เงินน้ำท่วมไม่เข้า จังหวัดไหนบ้าง เช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม 5,000 - 9,000 บาท

เงินน้ำท่วม เงินเยียวยาล่าสุด เช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม 5,000 - 9,000 บาท/ครัวเรือน ปภ.ตรวจสอบข้อมูลอีก 25 จังหวัดที่ เงินน้ำท่วมไม่เข้าเช็คที่นี่มีจังหวัดไหนบ้าง เช็คเงื่อนไขเงินเยียวยาน้ำท่วม ได้กี่บาท ใครได้บ้าง คลิก ช่องทางเช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ผ่านเว็บไซต์ คลิก เปิดสาเหตุเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ไม่เข้า คลิก เงินช่วยเหลือน้ำท่วม เงินน้ำท่วม เข้าวันไหน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย โอนเงินน้ำท่วม เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 2565 โดยยังมีอีกหลายจังหวัดที่ เงินน้ำท่วมไม่เข้า โดย ทั้งนี้ ปภ.อยู่ระหว่างส่งตรวจสอบความถูกต้องของเลขประจำตัวประชาชนในพื้นที่ 13 จังหวัด จำนวน 39,736 ครัวเรือน เป็นเงิน 226,792,000 ได้แก่ เลย สระแก้ว อ่างทอง เชียงราย สมุทรสาคร ชลบุรี นนทบุรี ลพบุรี นครปฐม พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ชัยภูมิ และปราจีนบุรีและจะส่งข้อมูลให้ธนาคารออมสินเพื่อโอนเงินช่วยเหลือน้ำท่วมเข้าบัญชีธนาคารของผู้ประสบภัยต่อไป เงินช่วยเหลือน้ำท่วม กี่บาท กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขังเกินกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 5,000 บาท กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 7,000 บาท กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 60 วัน ขึ้นไป ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 9,000 บาท อย่างไรก็ตาม ขอให้ผู้ประสบภัยที่ได้ยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือฯ ตรวจสอบบัญชีธนาคารของตนเองว่ามีการผูกบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) กับเลขบัตรประชาชนหรือไม่ หากยังไม่มีการผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนขอให้รีบดำเนินการ เพื่อให้การจ่ายเงินเป็นไปด้วยความรวดเร็ว วิธีสมัครพร้อมเพย์รับเงินน้ำท่วม คลิก เช็คเงินน้ำท่วม สำหรับประชาชนที่ได้ยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเรียบร้อยแล้ว สามารถติดตามสถานะการดำเนินการของตนเองได้ที่ https://flood65.disaster.go.th หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หมายเลขโทรศัพท์ 0-2637-3511 -------------------- เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม. คลิกเลย TrueID Community

วิธีสมัครพร้อมเพย์รับเงินเยียวยา เงินน้ำท่วม 5,000 - 9,000 บาท
อ่าน

วิธีสมัครพร้อมเพย์รับเงินเยียวยา เงินน้ำท่วม 5,000 - 9,000 บาท

เงินน้ำท่วม 5,000 - 9,000 บาท/ครัวเรือน เงินเยียวยาล่าสุด เงินช่วยเหลือน้ำท่วมโดยผู้ประสบภัยจะต้องสมัครพร้อมเพย์ รับเงินน้ำท่วม เช็คเงื่อนไขเงินเยียวยาน้ำท่วม ได้กี่บาท ใครได้บ้าง คลิก ช่องทางเช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ผ่านเว็บไซต์ คลิก เปิดสาเหตุเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ไม่เข้า คลิก เงินน้ำท่วม เงินน้ำท่วมกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. ได้ให้ธนาคารออมสิน โอนเงินช่วยเหลือน้ำท่วม แล้ว 4 ครั้ง ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่ต้องการรับเงินเยียวยาน้ำท่วม สามารถติดตามสถานะการดำเนินการของตนเองได้ที่ https://flood65.disaster.go.th เงินน้ำท่วมไม่เข้า จังหวัดไหนบ้าง คลิก โดยผู้ประสบภัยที่ได้ยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือฯ เงินน้ำท่วม ตรวจสอบบัญชีธนาคารของตนเองว่ามีการผูกบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) กับเลขบัตรประชาชนหรือไม่ หากยังไม่มีการผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนขอให้รีบดำเนินการ เพื่อให้การจ่ายเงินเป็นไปด้วยความรวดเร็ว เงินน้ำท่วม ได้กี่บาท ครัวเรือนละ 5,000 บาท จำนวน 8,380 ครัวเรือน จำนวนเงิน 41,900,000 บาท ครัวเรือนละ 7,000 บาท จำนวน 4,738 ครัวเรือน จำนวนเงิน 33,166,000 บาท ครัวเรือนละ 9,000 บาท จำนวน 26,308 ครัวเรือน จำนวนเงิน 236,772,000 บาท วิธีสมัครพร้อมเพย์ออนไลน์ ผ่านแอป เข้าแอปธนาคาร เลือกเมนู สมัครพร้อมเพย์ เลือกบัตรประชาชน ใส่เลขบัตรประชาชน 13 หลัก เลือกบัญชีที่ต้องการผูกพร้อมเพย์และกด "ผูกบัญชี" วิธีสมัครพร้อมเพย์ที่ธนาคาร แสดงบัตรประชาชนและสมุดบัญชีธนาคารให้เจ้าหน้าที่ แจ้งเลขบัตรประชาชน 13 หลักที่ต้องการผูกพร้อมเพย์ ตรวจสอบเอกสารลงทะเบียนและลงนามเสร็จสิ้นการทำรายการ สำหรับประชาชนที่ได้ยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเรียบร้อยแล้ว สามารถติดตามสถานะการดำเนินการของตนเองได้ที่ https://flood65.disaster.go.th หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หมายเลขโทรศัพท์ 0-2637-3511 -------------------- เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม. คลิกเลย TrueID Community

เปิดสาเหตุเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ไม่เข้า หลังโอนเงินน้ำท่วม รอบแรกไปแล้ว
อ่าน

เปิดสาเหตุเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ไม่เข้า หลังโอนเงินน้ำท่วม รอบแรกไปแล้ว

เงินน้ำท่วม 2565 เช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม เข้าวันไหน หลัง ปภ.แจ้ง โอนเงินช่วยเหลือน้ำท่วม 20 ม.ค. 2566 ที่ผ่านมา แต่ยังมีหลายรายยังไม่ได้รับเงินเยียวยา5,000 - 9,000 บาท/ครัวเรือน เช็คเงินน้ำท่วม ไม่เข้า เพราะอะไร เช็คเงื่อนไขเงินเยียวยาน้ำท่วม ได้กี่บาท ใครได้บ้าง คลิก ช่องทางเช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ผ่านเว็บไซต์ คลิก เงินน้ำท่วม ไม่เข้า เงินช่วยเหลือน้ำท่วม ไม่เข้า หลังจากที่ ปภ. ได้ดำเนินการบันทึกข้อมูลเข้าระบบตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2565 20 มกราคม 2566 แล้ว รวมจำนวนทั้งสิ้น 562,212 ครัวเรือน จาก 66 จังหวัดที่ประสบอุทกภัยและกรุงเทพมหานคร ซึ่งมี 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตราด นราธิวาส และจังหวัดอำนาจเจริญ และรายงานว่าไม่มีครัวเรือนที่เข้าหลักเกณฑ์การช่วยเหลือ ทั้งนี้ในส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดปทุมธานีจัดส่งข้อมูลบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบอุทกภัย ปี 2565 ชุดแรกให้ ปภ.จำนวน 39,425 ครัวเรือน จำนวนเงินทั้งสิ้น 311,838,000 บาท โดย ปภ.ได้ส่งกรมการปกครองตรวจสอบความถูกต้องของเลขประจำตัวประชาชน และส่งข้อมูลครัวเรือนผู้ประสบภัยให้ธนาคารออมสินเรียบร้อยแล้ว จำนวน 39,414 ครัวเรือน ส่วนผู้ประสบภัยอีก 11 รายพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องจึงได้ส่งให้จังหวัดดำเนินการตรวจสอบอีกครั้ง โดยโอนเงินน้ำท่วม เข้าวันที่ 20 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งธนาคารออมสินได้โอนเงินช่วยเหลือเป็นเงินน้ำท่วม ครั้งที่ 1 เข้าบัญชีผู้ประสบอุทกภัยจำนวน 38,408 ราย ผ่านระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) แบ่งเป็น ธนาคารออมสิน 5,645 ราย และธนาคารอื่น 32,763 ราย เงินช่วยเหลือน้ำท่วม ไม่เข้า เพราะอะไร มีผู้ประสบอุทกภัยจำนวน 1,006 ราย ไม่สามารถโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ได้เนื่องจากไม่ได้ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน ซึ่งปภ.ได้แจ้งให้จังหวัดประสานผู้ประสบภัยมาดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์เพื่อรับเงินช่วยเหลือต่อไป ขณะเดียวกันมีจังหวัดที่ได้จัดส่งข้อมูลครัวเรือนผู้ประสบอุทกภัยมาให้ ปภ. เพิ่มเติมแล้วอีก 4 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น และสุพรรณบุรี รวม 75,841 ครัวเรือน จำนวนเงิน 547,805,000 บาท ซึ่งจะได้รวบรวมส่งให้ธนาคารออมสินเพื่อดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีต่อไป สำหรับจังหวัดอื่น ๆ หลายจังหวัดได้มีกำหนดการประชุม ก.ช.ภ.จ. เพื่อตรวจสอบและจัดส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ ปภ. เพื่อให้สามารถจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยได้ครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนด ปชช. ติดตามตามสถานะดำเนินการได้ที่ https://flood65.disaster.go.th หรือ โทร. 0 2637 3511 เช็ควิธีขอรับเงินช่วยเหลือน้ำท่วม คลิก สำหรับผู้ประสบอุทกภัยที่มีข้อสงสัย หรือจะต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่กองช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หมายเลขโทรศัพท์ 0-2637-3511 -------------------- เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม. คลิกเลย TrueID Community

สถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ 2566 ล่าสุด : เช็คพิ้นที่น้ำท่วมวันนี้ มีที่ไหนบ้าง
อ่าน

สถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ 2566 ล่าสุด : เช็คพิ้นที่น้ำท่วมวันนี้ มีที่ไหนบ้าง

สถานการณ์ น้ำท่วม2566 ภาคใต้ล่าสุด ผลจากพายุที่พัดผ่านประเทศไทย ส่งผลให้หลายพื้นเกิดสถานการณ์น้ำท่วม อุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และคลื่นลมแรง TrueID ได้รวบรวมข่าวน้ำท่วมในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยมาให้ดังนี้ สถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ 2566 ล่าสุด รวมช่องทางบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 2565 น้ำท่วม 11 จังหวัดภาคกลางและภาคใต้ เช็คพิ้นที่น้ำท่วมวันนี้ มีที่ไหนบ้าง พยากรณ์อากาศวันนี้ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 5-8 มกราคม 2566 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงใกล้เกาะบอร์เนียวบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าใกล้ปลายบริเวณแหลมญวณ อ่านต่อ ++++++++++ เตือน! เตรียมรับมือน้ำหลาก-น้ำท่วมฉับพลันภาคใต้ 6-11 ม.ค. นี้ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประกาศเรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ จากการติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ อ่านต่อ ข้อมูล TNN , มติชน ข่าวที่เกี่ยวข้อง น้ำท่วม 2565 ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) พักชำระเงินต้นลูกค้า SME นานสูงสุด 6 เดือน น้ำท่วม 2565 เช็ก! รวม ที่จอดรถ หนีน้ำท่วม เมืองทอง นนทบุรี -------------------- เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม. คลิกเลย TrueID Community

น้ำท่วมใต้ 2565 วันนี้! 20 ธ.ค.65 เช็ก สถานการณ์น้ำท่วมหนักจังหวัดไหนบ้าง?
อ่าน

น้ำท่วมใต้ 2565 วันนี้! 20 ธ.ค.65 เช็ก สถานการณ์น้ำท่วมหนักจังหวัดไหนบ้าง?

ข่าวน้ำท่วม น้ำท่วมวันนี้ 20 ธ.ค.65 หลังจากที่ "พายุโนรูเข้าไทย" ทำให้เกิด "น้ำท่วม"หลายพื้นที่ โดยล่าสุด รายงานสถานการณ์น้ำท่วม วันนี้ มี พื้นที่น้ำท่วมล่าสุด มีที่ไหนบ้าง น้ำท่วมวันนี้ มีที่ไหนบ้าง ปัตตานีอ่วม ฝนถล่มน้ำท่วมหนัก สั่งปิดร.ร.จมน้ำ 2 อำเภออพยพชาวบ้าน มีรายงานว่าตลอด 2 วันที่ผ่านมา ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีได้เกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก จนเช้าวันนี้ฝนยังคงตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำปาไหลหลากน้ำได้เข้าท่วมบ้านเรือนได้รับความเดือนร้อนเป็นวงกว้าง ขณะที่ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี โดยเฉพาะยานเศษฐกิจวิกฤตอย่างหนัก หลายจุดเกิดน้ำท่วมขังเพิ่มขึ้นจากเดิม ถนนทุกสายในเขตเทศบาลจมอยู่ใต้น้ำ เนื่องจากท่อระบายน้ำไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน มีน้ำท่วมสูง 30 ซม และ 40 ซม. ถนนเจริญประดิษฐ์ ถนนมะกรูด ถนนพิพิธ ถนนฤาดี ถนนหนองจิก ถนนยะรัง และ ถนนนาเกลือ ในย่านเศษฐกิจที่ที่ได้รับผลกระทบค้อนข้างรุนแรง น้ำได้ทะลักเข้าท่วมบ้านเรือน ร้านค้าของประชาชนที่อาศัยติดกับถนน 2 ฝั่ง ต่างได้รับความเดือดร้อนจนต้องปิดร้าน ชาวบ้านต้องนำกระสอบทราบมาวางกั้นไว้บริเวณหน้าบ้านและร้านค้าเพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่ม ขณะนี้เจ้าหน้าที่ต้องนำแผงกั้นมาปิดเส้นทางชั่วคราว เนื่องจากรถเล็กสันจรไม่ได้ หลายคันต้องจอดทิ้งไว้ข้างทาง เนื่องจากน้ำเข้าภายในตัวเครื่อง ไม่สามารถขับต่อไปได้ และโรงเรียนในเขตเทศาลเมืองปัตตานีได้สั่งการปิดการเรียนชั่วคราว หลังได้รับผลกระทบดังกล่าว ทั้งนี้ นายนิอันวา สุไลมาน นายกเทศมนตรีเมืองปัตตานี ได้สั่งการพร้อมตั้งเป็นพื้นที่วิกฤต ให้เจ้าหน้าที่เทศบาลดูแลประชาชน ค่อยช่วยเหลือ พร้อมทั้งสั่งการให้เปิดเครื่องสูบน้ำทุกจุด เพื่อระบายน้ำออกสู่แม่น้ำโดยเร็ว อย่างไรก็ตามระดับน้ำในแม่น้ำปัตตานี พบว่าตลอดทั้งคืนมีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่ราบลุ่มได้รับผลกระทบ น้ำเอ่อล้นตะหลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน ได้รับความเดือนร้อนแล้วในหลายอำเภอ ซึ่งจังหวัดปัตตานีได้กำชับไปยังประชาชนท่ประสบภัยน้ำท่วมให้มีการระมัดระวัง โดยเฉพาะเด็ก สังห้ามให้เล่นน้ำเป็นอันขาด เกรงว่าจะได้รับอันตราย ซึ่งทางจังหวัดได้แจ้งเตือนทั้ง 12 อำเภอระวังสน้ำท่วมน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ อ.หนองจิก อ.ยะหริ่ง พบว่า บ้านเรือนบริเวณริมทะเลถูกคลื่นลมแรงซัดบ้านเรือนและหลังคาเสียหายหลายร้อยหลังคาเรือนแล้ว ขณะนี้ทางอำเถอได้เร่งเข้าให้ความช่วยเหลือ พร้อมอบยพประชาชนไปอาศัยที่โรงเรียนซึ่งได้ตั้งไว้เป็นที่อพยพชั่วคราว สตูลน้ำท่วม 3 อำเภอ! 400 ครัวเรือนเดือดร้อนขนของขึ้นที่สูง ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสถานการณ์ล่าสุดช่วงเช้าที่ผ่านมา หลังฝนตกสะสมหลายวัน ล่าสุดเข้าท่วมแล้ว 3 อำเภอได้แก่ อำเภอละงู อำเภอควนโดน และอำเภอควนกาหลง (ในพื้นที่ราบลุ่มต่ำ สวนเกษตร ) คลิก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่และให้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง และจะได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784 โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน THAI DISASTER ALERT -------------------- เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม. คลิกเลย TrueID Community

เช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม เปิดเกณฑ์ขอรับเงินเยียวยาน้ำท่วม 5,000 - 9,000 บาท/ครัวเรือน
อ่าน

เช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม เปิดเกณฑ์ขอรับเงินเยียวยาน้ำท่วม 5,000 - 9,000 บาท/ครัวเรือน

เงินเยียวยาล่าสุด เช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ครม.อนุมัติงบฯ เงินเยียวยาน้ำท่วม5,000, 7,000 และ 9,000 บาท/ครัวเรือน ตามกรณี ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยพื้นที่น้ำท่วมขัง วงเงิน 6,258 ล้านบาท เช็คเงินเยียวยาน้ำท่วมได้วันไหน ทำอย่างไรบ้าง ช่องทางเช็คเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ผ่านเว็บไซต์ คลิก เปิดสาเหตุเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ไม่เข้า คลิก เงินช่วยเหลือน้ำท่วม เงินช่วยเหลือน้ำท่วม นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า เห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2565 โดยได้อนุมัติกรอบวงเงินกว่า 6,258 ล้านบาท สำหรับจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจำนวนกว่า 1,046,460 ครัวเรือนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และอีก 66 จังหวัดตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือ โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นหน่วยงานรับงบประมาณและจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยผ่านธนาคารออมสิน ให้เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุนลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปและให้สามารถถัวจ่ายข้ามจังหวัดได้ด้วย เงินช่วยเหลือมีอัตราตั้งแต่ 5,000-9,000 บาท วิธีสมัครพร้อมเพย์รับเงินน้ำท่วม คลิก เงินช่วยเหลือน้ำท่วม กี่บาท กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขังเกินกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 5,000 บาท กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 7,000 บาท กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 60 วัน ขึ้นไป ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 9,000 บาท เกณฑ์ขอรับเงินเยียวยาน้ำท่วม ต้องเป็นกรณีอุทกภัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยในช่วงฤดูฝนปี 2565 ตั้งแต่ 13 พฤษภาคม ถึง 28 ตุลาคม 2565 ทั้งกรณีน้ำท่วมโดยฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง รวมถึงการระบายน้ำจนส่งผลกระทบทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้ ต้องเป็นที่อยู่ที่ประสบอุทกภัยตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประกาศเป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน ซึ่งได้รับผลกระทบกรณีใดกรณีหนึ่ง คือ ที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง ตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง เกินกว่า 7 วันขึ้นไป ต้องเป็นบ้านที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ที่ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยและหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกให้ และต้องผ่านการประชาคมหมู่บ้านของแต่ละพื้นที่ประสบสาธารณภัย และผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ และคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด สำหรับกรุงเทพมหานครต้องผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากสำนักงานเขตและกรุงเทพมหานคร กรณีที่ประสบภัยหลายครั้ง ให้ได้รับความช่วยเหลือเพียงครั้งเดียว เงินเยียวยาน้ำท่วม ได้วันไหน การจ่ายเงินช่วยเหลือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะเป็นจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยผ่านธนาคารออมสิน ในระบบพร้อมเพย์ วิธีขอรับเงินช่วยเหลือน้ำท่วม หลักฐานการขอรับความช่วยเหลือ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง สำเนาทะเบียนบ้านที่พักอาศัย สัญญาเช่าบ้าน กรณีเป็นที่อยู่อาศัยอื่นให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านผู้บริหารท้องถิ่น ร่วมกับผู้นำชุมชนตรวจสอบข้อเท็จจริง และลงนามรับรองร่วมกันอย่างน้อย 2 ใน 3 อย่างไรก็ตาม กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า ขณะนี้ ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม อุบลราชธานี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม โดยยังมีครัวเรือนที่ได้รับความเสียหายอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งอยู่ระหว่างการเร่งสำรวจจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบต่อไป -------------------- เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม. คลิกเลย TrueID Community

สรุปสถานการณ์ "น้ำท่วมภาคใต้"  เมืองคอน ขึ้นธงเหลือง-ขนของขึ้นที่สูง
อ่าน

สรุปสถานการณ์ "น้ำท่วมภาคใต้" เมืองคอน ขึ้นธงเหลือง-ขนของขึ้นที่สูง

ฝนตกหนักติดต่อกันมา 2 - 3 วัน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่งผลให้ระดับน้ำเริ่มเอ่อท่วมในหลายพื้นที่ หนักสุดที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ปริมาณน้ำฝน 135 มิลลิเมตร เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ต้องชักธงเหลืองให้ประชาชนเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วมขณะที่ อำเภอสิชล กระแสน้ำซัดคอสะพานคลองเผียน - เทพราช ที่อยู่ระหว่างการซ่อมแซม จนขาดอีกครั้ง ชาวบ้านไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ส่วนที่ อำเภอขนอม สิชล และท่าศาลา ซึ่งเป็นพื้นที่ชายทะเล มีการปักธงแดง ห้ามลงเล่นน้ำส่วนที่ ตำบลเสาธง อำเภอร่อนพิบูลย์ มีรายงานชายอายุ 31 ปี ออกไปเลี้ยงวัว บริเวณฝายน้ำล้น หรือเขื่อนกั้นน้ำเสาธง แล้วโรคชักกำเริบ พลัดตกลงในเขื่อนกั้นน้ำ เสียชีวิต 1 คน เจ้าหน้าที่กู้ภัยนำร่างให้ครอบครัวไปประกอบพิธีทางศาสนาแล้วนายอภินันท์ เผือกผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช สั่งการให้ทุกอำเภอเตรียมความพร้อม ทั้งอุปกรณ์ และกำลังคน เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัย หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือ ติดต่อได้ที่ ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร. 075-345118 / 075-342880 ต่อ 138 หรือสายด่วน 199 ตลอด 24 ชั่วโมงผู้ว่าฯ สุราษฎร์ฯ ตรวจน้ำท่วม-พายุซัดบ้านเรือนเสียหายด้านนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม ในอำเภอดอนสัก และอำเภอไชยา หลังมีฝนตกต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา เบื้องต้น พบบ้านเรือนถูกพายุพัดหลังคาปลิวหายไป 4 หลัง ซึ่งเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เร่งซ่อมแซมบ้านเรือนให้ประชาชนกลับไปอาศัยอยู่ได้อย่างไรก็ตาม ในห้วง 2-3 วันนี้ ยังมีปริมาณฝนมาก จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง ติดตามข่าวสารการแจ้งเตือนจากทุกช่องทางของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท ซึ่งส่วนราชการทุกส่วนได้เตรียมความพร้อมเพื่อให้การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยตลอด 24 ชั่วโมงปภ. เตือน 4 จังหวัดใต้ เฝ้าระวังน้ำท่วม-น้ำป่าด้าน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังในระยะสั้น ได้แก่ จังหวัดชุมพร (อ.พะโต๊ะ หลังสวน ละแม ทุ่งตะโก) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อ.ท่าชนะ ไชยา กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก พุนพิน เกาะสมุย เกาะพะงัน) จังหวัดนครศรีธรรมราช (อ.เมืองฯ ขนอม สิชล ท่าศาลา นบพิตำ เชียรใหญ่ ปากพนัง ลานสกา พรหมคีรี หัวไทร พิปูน) และ จังหวัดพัทลุง (อ.เมืองฯ ป่าบอน เขาชัยสน ควนขนุน ศรีบรรพต ศรีนครินทร์ กงหรา)สำหรับพื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และ นราธิวาส ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ ระวังอันตรายจากคลื่นลมแรง ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง นักท่องเที่ยวควรงดเล่นน้ำทะเล ส่วนสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณชายทะเล ระมัดระวังผลกระทบจากคลื่นที่ซัดเข้าฝั่งอุตุฯ เตือนภาคใต้ฝนตกหนักมาก เฝ้าระวังน้ำท่วม-น้ำป่าด้าน กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 12 เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน และฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ระบุว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย โดยมีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างลงสู่ทะเลอันดามัน ในช่วงวันที่ 45 ธันวาคม ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้และทะเลอันดามันมีกำลังปานกลางลักษณะเช่นนี้ ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วยภาพ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค

ครม.เคาะเยียวยา "น้ำท่วม" จ่ายสูงสุด 9 พันบาท เช็กเงื่อนไข-การจ่ายเงินได้ที่นี่!
อ่าน

ครม.เคาะเยียวยา "น้ำท่วม" จ่ายสูงสุด 9 พันบาท เช็กเงื่อนไข-การจ่ายเงินได้ที่นี่!

วันนี้( 29 พ.ย.65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2565 พร้อมอนุมัติกรอบวงเงิน 6,258.54 ล้านบาท สำหรับจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจำนวน 1,046,460 ครัวเรือน ซึ่งเป็นจำนวนครัวเรือนจากการสำรวจเบื้องต้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ 66 จังหวัด ที่อยู่ในพื้นที่ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉินในกรณีใด กรณีหนึ่งใน 3 กรณี ดังนี้(1) กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันตั้งแต่ 1วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขังเกินกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 5,000 บาท(2) กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 7,000 บาท(3) กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 60 วัน ขึ้นไป ให้ความช่วยเหลือครัวเรือนละ 9,000 บาทสำหรับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ดังนี้-หลักเกณฑ์(1) ต้องเป็นกรณีอุทกภัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยในช่วงฤดูฝนปี 2565 ตั้งแต่ 13 พฤษภาคม ถึง 28 ตุลาคม 2565 ทั้งกรณีน้ำท่วมโดยฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง รวมถึงการระบายน้ำจนส่งผลกระทบทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้(2) ต้องเป็นที่อยู่ที่ประสบอุทกภัยตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประกาศเป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน ซึ่งได้รับผลกระทบกรณีใดกรณีหนึ่ง คือ ที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง ตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง เกินกว่า 7 วันขึ้นไป-เงื่อนไข (1) ต้องเป็นบ้านที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ที่ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย หรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกให้ และต้องผ่านการประชาคมหมู่บ้านของแต่ละพื้นที่ประสบสาธารณภัย และผ่านการตรวจสอบและยืนยันช้อมูลจากคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ และคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด สำหรับกรุงเทพมหานครต้องผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากสำนักงานเขตและกรุงเทพมหานคร(2) กรณีที่ประสบภัยหลายครั้ง ให้ได้รับความช่วยเหลือเพียงครั้งเดียว-การจ่ายเงินช่วยเหลือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะเป็นจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยผ่านธนาคารออมสินอย่างไรก็ตาม กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า ขณะนี้ ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม อุบลราชธานี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม โดยยังมีครัวเรือนที่ได้รับความเสียหายอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งอยู่ระหว่างการเร่งสำรวจจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบต่อไปแฟ้มภาพ TNN Online

เช็กจังหวัดภาคใต้ “เสี่ยงน้ำท่วม-น้ำหลาก” วันที่ 2-6 ธ.ค. มีพื้นที่ไหนบ้าง
อ่าน

เช็กจังหวัดภาคใต้ “เสี่ยงน้ำท่วม-น้ำหลาก” วันที่ 2-6 ธ.ค. มีพื้นที่ไหนบ้าง

p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 16.0px Thonburi; color: #000000; color: rgba(0, 0, 0, 0.87)} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 16.0px Thonburi; color: #000000; color: rgba(0, 0, 0, 0.87); background-color: #ffffff} span.s1 {font-kerning: none; background-color: #ffffff} span.s2 {font: 16.0px Helvetica; font-kerning: none; background-color: #ffffff} span.s3 {font: 16.0px Helvetica; font-kerning: none} span.s4 {font-kerning: none}วันนี้ (29 พ.ย. 65) กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศเตือนให้เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคใต้ โดยระบุว่า จากการติดตามคาดการณ์สภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าจะมีฝนตกหนักในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค.65 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง และหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างมีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่าง ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งโดยกอนช.ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน)พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในช่วงวันที่2-6ธ.ค.65ดังนี้1.เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขังในบริเวณ - จังหวัดระนอง (อำเภอละอุ่น) - จังหวัดชุมพร (อำเภอปะทิว เมืองชุมพร สวี ทุ่งตะโก หลังสวน ละแม ท่าแซะ และพะโต๊ะ) - จังหวัดภูเก็ต (อำเภอถลาง และเมืองภูเก็ต) - จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอกาญจนดิษฐ์ เกาะพะงัน เกาะสมุย และดอนสัก) - จังหวัดพังงา (อำเภอคุระบุรี ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) - จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอขนอม และสิชล) - จังหวัดตรัง (อำเภอปะเหลียน และหาดสำราญ) - จังหวัดพัทลุง (อำเภอเขาชัยสน บางแก้ว ปากพะยูน ป่าบอน และเมืองพัทลุง) - จังหวัดสตูล (อำเภอควนกาหลง ท่าแพ ทุ่งหว้า มะนัง เมืองสตูล และละงู) - จังหวัดสงขลา (อำเภอกระแสสินธุ์ ควนเนียง จะนะ เทพา บางกล่ำ เมืองสงขลา รัตภูมิ สะบ้าย้อย สิงหนคร หาดใหญ่ นาทวี และสะเดา) - จังหวัดปัตตานี (อำเภอโคกโพธิ์ ปะนาเระ เมืองปัตตานี แม่ลาน ไม้แก่น ยะรัง ยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก กะพ้อ ทุ่งยางแดง และมายอ) - จังหวัดยะลา (อำเภอรามัน เมืองยะลา และยะหา) - จังหวัดนราธิวาส (อำเภอเจาะไอร้อง ตากใบ บาเจาะ เมืองนราธิวาส ยี่งอ ระแงะ รือเสาะ ศรีสาคร สุไหงโก-ลก สุไหงปาดี แว้ง และสุคิริน)2.เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งบริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำชุมพรคลองหลังสวนแม่น้ำตาปีแม่น้ำพุมดวงแม่น้ำตะกั่วป่าแม่น้ำปากพนังแม่น้ำตรังคลองชะอวดแม่น้ำสายบุรีแม่น้ำปัตตานีแม่น้ำบางนราและแม่น้ำโก-ลก3. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีแนวโน้มปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) รวมทั้งอ่างฯ ขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร 80% และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ด้านท้ายน้ำ โดยเฉพาะเขื่อนบางลาง ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อนในการนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการดังนี้1.ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า90มิลลิเมตรในช่วงเวลา24ชั่วโมงและพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ2. ปรับการบริหารจัดการน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก น้ำในลำน้ำ รวมถึงเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ ให้สอดคล้องกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและ อิทธิพลของการขึ้น - ลง ของน้ำทะเล โดยการเร่งระบายและพร่องน้ำรองรับสถานการณ์ฝนที่คาดว่าจะตกหนัก3.ติดตามตรวจสอบซ่อมแซมแนวคันบริเวณริมแม่น้ำและเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำเตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลากเตรียมความพร้อมบุคลากรเครื่องจักรเครื่องมือรวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรองเพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 13.0px Thonburi} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 13.0px 'Helvetica Neue'} span.s1 {font: 13.0px 'Helvetica Neue'} span.s2 {font: 13.0px Thonburi}ข้อมูลจาก : กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)ภาพจาก : AFP

เปิดรายชื่อพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ระวัง!น้ำป่าไหลหลาก 21-24 พ.ย.
อ่าน

เปิดรายชื่อพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ระวัง!น้ำป่าไหลหลาก 21-24 พ.ย.

p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 16.0px Thonburi; color: #000000; color: rgba(0, 0, 0, 0.87)} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 16.0px Thonburi; color: #000000; color: rgba(0, 0, 0, 0.87); background-color: #ffffff} span.s1 {font-kerning: none; background-color: #ffffff} span.s2 {font: 16.0px Helvetica; font-kerning: none; background-color: #ffffff} span.s3 {font: 16.0px Helvetica; font-kerning: none} span.s4 {font-kerning: none}วันนี้ (19 พ.ย. 65) กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงวันที่ 21 - 24 พฤศจิกายน 2565 ดังนี้ เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณ จ.เพชรบุรี (อ.ท่ายาง บ้านลาด ชะอำ แก่งกระจาน และเมืองเพชรบุรี), จ.ประจวบคีรีขันธ์ (อ.บางสะพาน เมืองประจวบคีรีขันธ์ ทับสะแก บางสะพานน้อย และกุยบุรี) ,จ.ระนอง (อ.ละอุ่น), จ.ชุมพร (อ.ปะทิว เมืองชุมพร สวี ทุ่งตะโก หลังสวน ละแม ท่าแซะ และพะโต๊ะ), จ.สุราษฎร์ธานี (อ.ดอนสัก เกาะสมุย กาญจนดิษฐ์ บ้านนาสาร เกาะพะงัน เมืองสุราษฎร์ธานี บ้านนาเดิม พุนพิน พนม บ้านตาขุน และท่าชนะ), จ.พังงา (อ.คุระบุรี ตะกั่วป่า ท้ายเหมือง เมืองพังงา กะปง ทับปุด และตะกั่วทุ่ง), จ.ภูเก็ต (อ.ถลาง และเมืองภูเก็ต), จ.กระบี่ (อ.ปลายพระยา อ่าวลึก และเมืองกระบี่), จ.ตรัง (อ.นาโยง เมืองตรัง ห้วยยอด และรัษฎา), จ.นครศรีธรรมราช (อ.ทุ่งสง ลานสกา ร่อนพิบูลย์ ขนอม ช้างกลาง นาบอน พระพรหม จุฬาภรณ์ สิชล เมืองนครศรีธรรมราช นบพิตำ ฉวาง พรหมคีรี เฉลิมพระเกียรติ พิปูน ทุ่งใหญ่ ชะอวด ถ้ำพรรณรา ท่าศาลา บางขัน และปากพนัง), จ.พัทลุง (อ.ศรีนครินทร์ศรีบรรพตเมืองพัทลุงควนขนุนและป่าพะยอม)และจ.สตูล(อ.ละงูและเมืองสตูล)พร้อมเฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำปราณบุรี แม่น้ำชุมพร คลองหลังสวน แม่น้ำท่าตะเภา แม่น้ำสวี แม่น้ำตาปี แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำตรัง และแม่น้ำปากพนังp.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 13.0px Thonburi} span.s1 {font: 13.0px 'Helvetica Neue'}ข้อมูลจาก : กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)ภาพจาก : กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)

น้ำท่วม 2565 วันนี้! 14 พ.ย. 65 พื้นที่น้ำท่วม ล่าสุด มีน้ำท่วม 11 จังหวัดที่ไหนบ้าง
อ่าน

น้ำท่วม 2565 วันนี้! 14 พ.ย. 65 พื้นที่น้ำท่วม ล่าสุด มีน้ำท่วม 11 จังหวัดที่ไหนบ้าง

ข่าวน้ำท่วมน้ำท่วม วันนี้ รายงานสถานการณ์น้ำท่วม ล่าสุด 14 พ.ย. 65 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ประกาศรายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย น้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม ประจำวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565เวลา 08.00 น.เช็คเส้นทาง น้ำท่วม วันนี้ มีที่ไหนบ่าง น้ำท่วมวันนี้ มีที่ไหนบ้าง รายงานข้อมูลคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.00 น. พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.มหาสารคาม (อ.เมืองฯ โกสุมพิสัย กันทรวิชัย) ศรีสะเกษ (อ.เมืองฯ) อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ วารินชำราบ สว่างวีระวงศ์) ภาคกลาง จ.สุพรรณบุรี (อ.สองพี่น้อง บางปลาม้า) อ่างทอง (อ.เมืองฯ ป่าโมก วิเศษชัยชาญ ไชโย โพธิ์ทอง แสวงหา) พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา ผักไห่ พระนครศรีอยุธยา บางซ้าย ลาดบัวหลวง) นครปฐม (อ.สามพราน นครชัยศรี บางเลน) ภาคใต้ จ.สงขลา (อ.สะบ้าย้อย) ปัตตานี (อ.เมืองฯ หนองจิก ยะรัง) ยะลา (อ.เมืองฯ) นราธิวาส (อ.สุไหงโก-ลก) ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า โดยเฉพาะบริเวณน้ำท่วมแนวสายไฟฟ้า เสาไฟฟ้า หรือวัตถุสื่อนำกระแสไฟฟ้า รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านทาง เพื่อความปลอดภัย ควรงดการท่องเที่ยวในพื้นที่ถ้ำที่มีน้ำท่วมขัง และน้ำตกที่น้ำไหลเชี่ยว พื้นที่เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง ภาคกลาง จ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานคร ภาคใต้ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ และระวังผลกระทบจากระดับน้ำทะเลหนุนสูง น้ำท่วมวันนี้ 11 จังหวัด ปภ.รายงานยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 11 จังหวัด ประสานจังหวัดดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง (14 พ.ย.65 เวลา 9.30 น.) ปภ.รายงานยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส มหาสารคาม ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม รวม 28 อำเภอ 196 ตำบล 1,232 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 80,114 ครัวเรือน ทั้งนี้ ปภ. ได้ประสานจังหวัดดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเร่งระบายน้ำ เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ภัย สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ให้เร่งฟื้นฟูพื้นที่เพื่อให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานร่องมรสุมพาดผ่านตอนล่างของภาคใต้เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน รวมถึงลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 4 จังหวัด รวม 17 อำเภอ 69 ตำบล 261 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,746 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 4 จังหวัด รวม 5 อำเภอ 22 ตำบล 88 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,201ครัวเรือน ดังนี้ น้ำท่วมสงขลา น้ำท่วมในอำเภอสะบ้าย้อย รวม 9 ตำบล 40 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 796 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง น้ำท่วมปัตตานี น้ำท่วมใน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี และอำเภอหนองจิก รวม 5 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 701 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง น้ำท่วมยะลา น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองยะลา รวม 6 ตำบล 33 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 513 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง น้ำท่วมนราธิวาส น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก รวม 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 218 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง ขณะที่สถานการณ์ฝนตปกหนักในช่วงที่ผ่านมาและการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ส่งผลให้ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. - 14 พ.ย.65 เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังในพื้นที่ 59 จังหวัด รวม 353 อำเภอ 1,879 ตำบล 11,770 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 528,063 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 12 ราย ปัจจุบัน (14 พ.ย.65 เวลา 06.00 น.) ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 7 จังหวัด 23 อำเภอ 174 ตำบล 1,144 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 77,913 ครัวเรือน ภาพรวมระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่องทุกจังหวัด ดังนี้ น้ำท่วมมหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอโกสุมพิสัย รวม 12 ตำบล 96 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,033 ครัวเรือน น้ำท่วมศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ รวม 4 ตำบล 34 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,709 ครัวเรือน น้ำท่วมอุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ และอำเภอสว่างวีระวงศ์ รวม 9 ตำบล 45 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,884 ครัวเรือน น้ำท่วมอ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอป่าโมก อำเภอไชโย อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอแสวงหา รวม 46 ตำบล 251 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 17,211 ครัวเรือน น้ำท่วมพระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางซ้าย และอำเภอลาดบัวหลวง รวม 28 ตำบล 189 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 16,672 ครัวเรือน น้ำท่วมสุพรรณบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง รวม 25 ตำบล 185 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,811 ครัวเรือน น้ำท่วมนครปฐม น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามพราน อำเภอบางเลน และอำเภอนครชัยศรี รวม 50 ตำบล 344 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,593 ครัวเรือน สำหรับการให้ความช่วยเหลือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งระบายน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชน สิ่งสาธารณประโยชน์ สถานที่ราชการ และซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค รวมถึงเส้นทางคมนาคมให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784 โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน THAI DISASTER ALERT ข้อมูล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM -------------------- เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม. คลิกเลย TrueID Community

เช็คน้ำท่วมวันนี้ ภาคใต้ 5 จังหวัด 13 – 16 พ.ย.65 พื้นที่น้ำท่วม ล่าสุด มีที่ไหนบ้าง
อ่าน

เช็คน้ำท่วมวันนี้ ภาคใต้ 5 จังหวัด 13 – 16 พ.ย.65 พื้นที่น้ำท่วม ล่าสุด มีที่ไหนบ้าง

ข่าวน้ำท่วมน้ำท่วม วันนี้ สถานการณ์น้ำท่วม ล่าสุดปภ.ออกมาเตือน 5 จังหวัดภาคใต้ เตรียมรับมือน้ำหลาก น้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่ง ช่วงวันที่ 13 16 พ.ย.65 เช็กพื้นที่น้ำท่วม ล่าสุด มีที่ไหนบ้าง น้ำท่วมวันนี้ 12 พ.ย.65 เวลา 08.30 น. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสถานการณ์ปริมาณฝนตกสะสมต่อเนื่อง ประกอบกองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้มีประกาศฉบับที่ 53/2565 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 แจ้งว่า ในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ตอนล่าง มีปริมาณฝนสะสมมากกว่า 200 มิลลิเมตร และได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ระหว่างวันที่ 13 - 16 พฤศจิกายน 2565 ดังนี้ พื้นที่เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง พัทลุง (อำเภอเมืองฯ บางแก้ว เขาชัยสน ปากพะยูน ป่าบอน ควนขนุน) สงขลา (อำเภอเมืองฯ สิงหนคร ระโนด กระแสสินธุ์ จะนะ ควนเนียง สทิงพระ) ปัตตานี (อำเภอยะหริ่ง) ยะลา (อำเภอธารโต กาบัง ยะหา บันนังสตา เบตง) พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ของแม่น้ำโก-ลก แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี นอกจากนี้ เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีแนวโน้มปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) รวมทั้งอ่างฯ ขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ด้านท้ายน้ำ โดยเฉพาะเขื่อนบางลาง ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน กอปภ.ก. จึงได้ประสานแจ้ง 5 จังหวัดภาคใต้ เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัย โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามปริมาณฝนตกในแต่ละจุดอย่างใกล้ชิด และเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงที่มีฝนตกหนักและปริมาณฝนตกสะสม พร้อมตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันกั้นน้ำบริเวณริมแม่น้ำ รวมถึงปรับแผนการระบายน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ พร่องน้ำและบริหารจัดพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ อีกทั้งจัดชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) และเครื่องมือเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงภัยให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือประชาชนทันที ตลอดจนประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุอย่างเคร่งครัด สำหรับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างต่อเนื่อง ท้ายนี้ ประชาชนสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน THAI DISASTER ALERT และสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ ปภ.รับแจ้งเหตุ1784 โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป ข้อมูล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM -------------------- เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม. คลิกเลย TrueID Community

เช็คเงินเยียวยาน้ำท่วม เยียวยาน้ำท่วมบ้าน บาดเจ็บ เสียชีวิต ได้เงินกี่บาท
อ่าน

เช็คเงินเยียวยาน้ำท่วม เยียวยาน้ำท่วมบ้าน บาดเจ็บ เสียชีวิต ได้เงินกี่บาท

เช็คเงินเยียวยาน้ำท่วม เงินเยียวยาน้ําท่วม กี่บาท รัฐบาลออกมาตรการเยียวยาน้ำท่วม 2565 มาแล้ว โดยหากผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็น เยียวยาน้ำท่วมบ้าน บาดเจ็บ เสียชีวิต ของสูญหาย จะได้รับเงินเยียวยา ตามหลักเกณฑ์ เช็คเงินเยียวยาน้ำท่วม ล่าสุด ที่นี่ เงินเยียวยาน้ำท่วม เยียวยาน้ำท่วมบ้าน รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาคำนึงถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดภัยพิบัติสาธารณภัย มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติเป็นกรณีฉุกเฉิน ขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2562 และปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติเป็นกรณีฉุกเฉิน ใน พ.ศ. 2563การปรับปรุงระเบียบและหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2562 นี้ เป็นการปรับปรุงเพิ่มเติมจากฉบับเดิมเมื่อ พ.ศ. 2556 ให้มีความครอบคลุมมากขึ้น อีกทั้งพิจารณาปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม ตามสภาวะค่าครองชีพที่เปลี่ยนไป เช็คเงินเยียวยาน้ำท่วม 2565 กี่บาท สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเยียวยา ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์น้ำท่วมมีดังนี้ เงินเยียวยาน้ำท่วม ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพเบื้องต้น กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังเท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 3,800 บาท เงินเยียวยาน้ำท่วม ค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำ ซึ่งผู้ประสบภัยพิบัติเป็นเจ้าของที่ได้รับความเสียหาย เท่าที่จ่ายจริงหลังละไม่เกิน 49,500 บาท เงินเยียวยาน้ำท่วม ค่าวัสดุซ่อมแซมหรือสร้างยุ้งข้าว โรงเรือนสำหรับเก็บพืชผลคอกสัตว์ที่ได้รับความเสียหายเท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 5,700 บาท เงินเยียวยาน้ำท่วม กรณีที่ผู้ประสบภัยพิบัติเช่าบ้านเรือนของผู้อื่น และบ้านเช่าเสียหายจากภัยพิบัติทั้งหลัง หรือเสียหายบางส่วนจนอยู่อาศัยไม่ได้ ให้ช่วยเหลือเป็นค่าเช่าบ้านแก่ผู้ประสบภัยพิบัติเท่าที่จ่ายจริงในอัตราครอบครัวละไม่เกินเดือนละ 1,800 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 2 เดือน เงินเยียวยาน้ำท่วม ค่าดัดแปลงสถานที่สำหรับเป็นที่พักชั่วคราว เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 2,500 บาท หรือ ค่าผ้าใบหรือผ้าพลาสติก หรือวัสดุอื่น ๆ สำหรับกันแดดกันฝน เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 1,000 บาท เงินเยียวยาน้ำท่วม ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ และหรือเงินทุนสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ ที่เป็นอาชีพหลักในการหาเลี้ยงครอบครัวของผู้ประสบภัยพิบัติ เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท เงินเยียวยาน้ำท่วม ค่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ กรณีบาดเจ็บสาหัสที่ต้องรักษาพยาบาลติดต่อกันตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 4,000 บาท เงินเยียวยาน้ำท่วม ค่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ จนถึงขั้นพิการไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติได้ ให้ช่วยเหลือเบื้องต้น 4,000 บาท เงินเยียวยาน้ำท่วม กรณีภัยพิบัติขนาดใหญ่ หรือรุนแรงเป็นที่สะเทือนขวัญของประชาชนทั่วไป ให้จ่ายเงินหรือสิ่งของปลอบขวัญผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่รักษาตัวในสถานพยาบาลรายละไม่เกิน 2,300 บาท เงินเยียวยาน้ำท่วม ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต รายละไม่เกิน 29,700 บาท และในกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือผู้หารายได้หาเลี้ยงครอบครัว ให้พิจารณาช่วยเหลือเงินสงเคราะห์อีกไม่เกิน 29,700 บาท เงินเยียวยาน้ำท่วม ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ประกอบอาหารที่สูญหายหรือได้รับความเสียหายไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 3,500 บาท เงินเยียวยาน้ำท่วม ค่าเครื่องนอน ที่สูญหายหรือได้รับความเสียหายไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก หรือมีความจำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีพกรณีไม่มีเครื่องนอนในการดำรงชีพขณะเกิดภัยเท่าที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 1,000 บาท อ้างอิง กองแผนงาน กรมส่งเสริมการเกษตร, ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๖๒ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง -------------------- เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม. คลิกเลย TrueID Community

น้ำท่วม 2565 วันนี้! 22 ตุลาคม 65 พื้นที่น้ำท่วม ล่าสุด มี 30 จังหวัดที่ไหนบ้าง
อ่าน

น้ำท่วม 2565 วันนี้! 22 ตุลาคม 65 พื้นที่น้ำท่วม ล่าสุด มี 30 จังหวัดที่ไหนบ้าง

ข่าวน้ำท่วม น้ำท่วม วันนี้ 22ตุลาคม 65ที่ไหนบัาง รายงานสถานการณ์น้ำท่วม ล่าสุด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ประกาศรายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย น้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม ประจำวันที่ 22 ตุลาคม 2565เวลา 08.00 น.เช็คเส้นทาง น้ำท่วม วันนี้ มีที่ไหนบ่าง น้ำท่วมวันนี้ มีที่ไหนบ้าง รายงานข้อมูลคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 22 ตุลาคม 2565 เวลา 08.00 น. พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังในระยะสั้น ภาคใต้ จ.ชุมพร (อ.พะโต๊ะ ละแม) สงขลา (อ.นาทวี เทพา สะบ้าย้อย หาดใหญ่ สะเดา) ปัตตานี (อ.ยะรัง) นราธิวาส (อ.ระแงะ รือเสาะ แว้ง สุคิริน) พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ภาคเหนือ จ.พิษณุโลก (อ.บางระกำ พรหมพิราม) พิจิตร (อ.เมืองฯ สามง่าม บึงนาราง โพทะเล ตะพานหิน โพธิ์ประทับช้าง บางมูลนาก) นครสวรรค์ (อ.เมืองฯ พยุหะคีรี โกรกพระ ชุมแสง ท่าตะโก เก้าเลี้ยว ลาดยาว) อุทัยธานี (อ.เมืองฯ หนองขาหย่าง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น (อ.เมืองฯ ชนบท น้ำพอง โคกโพธิ์ชัย บ้านไผ่ แวงใหญ่) มหาสารคาม (อ.เมืองฯ โกสุมพิสัย กันทรวิชัย เชียงยืน) กาฬสินธุ์ (อ.เมืองฯ ยางตลาด ฆ้องชัย ร่องคำ กมลาไสย กุฉินารายณ์) ร้อยเอ็ด (อ.จังหาร เชียงขวัญ โพธิ์ชัย ทุ่งเขาหลวง โพนทราย พนมไพร เสลภูมิ ธวัชบุรี หนองฮี สุวรรณภูมิ) ยโสธร (อ.เมืองฯ มหาชนะชัย ค้อวัง คำเขื่อนแก้ว) นครราชสีมา (อ.พิมาย ชุมพวง เฉลิมพระเกียรติ เมืองยาง) บุรีรัมย์ (อ.คูเมือง สตึก) สุรินทร์ (อ.จอมพระ ท่าตูม ชุมพลบุรี รัตนบุรี) ศรีสะเกษ (อ.เมืองฯ ราษีไศล กันทรารมย์ ยางชุมน้อย ศิลาลาด) อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ วารินชำราบ สว่างวีระวงศ์ ดอนมดแดง สำโรง เขื่องใน พิบูลมังสาหาร ตาลสุม สิรินธร) ภาคกลาง จ.ชัยนาท (อ.เมืองฯ วัดสิงห์ มโนรมย์ หันคา สรรพยา หนองมะโมง เนินขาม สรรคบุรี) สุพรรณบุรี (อ.เมืองฯ สองพี่น้อง บางปลาม้า) สิงห์บุรี (อ.เมืองฯ อินทร์บุรี พรหมบุรี ท่าช้าง บางระจัน ค่ายบางระจัน) ลพบุรี (อ.เมืองฯ บ้านหมี่) สระบุรี (อ.หนองโดน บ้านหมอ ดอนพุด) อ่างทอง (อ.เมืองฯ ป่าโมก วิเศษชัยชาญ ไชโย โพธิ์ทอง แสวงหา) พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา ผักไห่ บางบาล บางไทร บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา บางปะหัน ท่าเรือ นครหลวง มหาราช อุทัย วังน้อย ภาชี บ้านแพรก บางซ้าย) นครปฐม (อ.เมืองฯ กำแพงแสน ดอนตูม พุทธมณฑล สามพราน นครชัยศรี บางเลน) นนทบุรี (อ.เมืองฯ ปากเกร็ด บางใหญ่ บางกรวย บางบัวทอง) ปทุมธานี (อ.เมืองฯ สามโคก) ฉะเชิงเทรา (อ.บางน้ำเปรี้ยว ราชสาส์น คลองเขื่อน) นครนายก (อ.องครักษ์) ปราจีนบุรี (อ.เมืองฯ กบินทร์บุรี ศรีมหาโพธิ ประจันตคาม บ้านสร้าง ศรีมโหสถ) ภาคใต้ จ.ภูเก็ต (อ.เมืองฯ) สตูล (อ.ละงู) ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า โดยเฉพาะบริเวณน้ำท่วมแนวสายไฟฟ้า เสาไฟฟ้า หรือวัตถุสื่อนำกระแสไฟฟ้า รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านทาง เพื่อความปลอดภัยควรงดการท่องเที่ยวในพื้นที่ถ้ำที่มีน้ำท่วมขัง และน้ำตกที่น้ำไหลเชี่ยว พื้นที่เฝ้าระวังดินถล่ม ภาคใต้ สงขลา (อ.นาทวี) ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ หลีกเลี่ยงการอยู่อาศัยและทำกิจกรรมบริเวณที่ลาดเชิงเขา พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง ภาคใต้ จ.ระนอง และพังงา ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ ระวังอันตรายจากคลื่นลมแรง ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง นักท่องเที่ยวควรงดเล่นน้ำทะเล ส่วนสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณชายทะเล ระมัดระวังผลกระทบจากคลื่นที่ซัดเข้าฝั่ง น้ำท่วม วันนี้ 30 จังหวัด ปภ.รายงานมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่รวม 30 จังหวัด ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง 22 ต.ค. 65 เวลา 09.30 น. ปภ.รายงานยังมีน้ำท่วมในพื้นที่รวม 30 จังหวัด 146 อำเภอ 950 ตำบล 6,622 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบรวม 424,664 แยกเป็น ภาคใต้ 3 จังหวัด (ภูเก็ต สตูล นราธิวาส) รวม 4 อำเภอ 9 ตำบล 49 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,529 ครัวเรือน ขณะที่ผลกระทบจากฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ยังมีสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และ น้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 27 จังหวัด 142 อำเภอ 941 ตำบล 6,573 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 423,135 ครัวเรือน ภาพรวมมีแนวโน้มระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาคกลางบางจังหวัดระดับน้ำยังทรงตัว ทั้งนี้ ปภ. ได้ประสานจังหวัดดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยและเร่งระบายน้ำเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่รวม 30 จังหวัด 146 อำเภอ 950 ตำบล 6,622 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบรวม 424,664 ครัวเรือน ซึ่งอิทธิพลของร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักต่อเนื่องและฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 16 22 ต.ค. 65 ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในภาคใต้รวม 7 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต พังงา สตูล กระบี่ สงขลา ตรัง และนราธิวาสรวม 23 อำเภอ 66 ตำบล 256 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,071 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัด รวม 4 อำเภอ 9 ตำบล 49 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,529 ครัวเรือน ดังนี้ น้ำท่วมภูเก็ต ยังมีน้ำท่วมเส้นทางจราจรในพื้นที่ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต ระดับน้ำลดลง น้ำท่วมสตูล ยังมีน้ำท่วมในอำเภอละงู รวม 5 ตำบล 41 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,411 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง น้ำท่วมนราธิวาส เกิดน้ำป่าไหลหลากใน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสุคิริน และอำเภอแว้ง รวม 3 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 118 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง ขณะที่ผลกระทบจากฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง โดยตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. 22 ต.ค. 65 เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่รวม 59 จังหวัด 352 อำเภอ 1,869 ตำบล 11,690 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 520,494 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 6 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่รวม 27 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม นครนายก สระบุรี ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา รวม 142 อำเภอ 941 ตำบล 6,573 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 423,135 ครัวเรือน แยกเป็น น้ำท่วม วันนี้ ภาคเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่ น้ำท่วมพิษณุโลก น้ำท่วมพิจิตร และน้ำท่วมนครสวรรค์ รวม 16 อำเภอ 72 ตำบล 523 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 33,121 ครัวเรือน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ น้ำท่วมขอนแก่น น้ำท่วมมหาสารคาม น้ำท่วมกาฬสินธุ์ น้ำท่วมร้อยเอ็ด ยโสธร น้ำท่วมนครราชสีมา น้ำท่วมบุรีรัมย์ น้ำท่วมสุรินทร์ น้ำท่วมศรีสะเกษ น้ำท่วมอุบลราชธานี รวม 53 อำเภอ 244 ตำบล 1,751 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 67,200 ครัวเรือน ภาคกลาง 12 จังหวัด ได้แก่ น้ำท่วมอุทัยธานี น้ำท่วมชัยนาท น้ำท่วมสิงห์บุรี น้ำท่วมอ่างทอง น้ำท่วมพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี น้ำท่วมนนทบุรี น้ำท่วมลพบุรี น้ำท่วมสุพรรณบุรี น้ำท่วมนครปฐม น้ำท่วมนครนายก น้ำท่วมสระบุรี รวม 64 อำเภอ 574 ตำบล 3,950 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 308,464 ครัวเรือน ภาคตะวันออก 2 จังหวัด ได้แก่ น้ำท่วมปราจีนบุรี และน้ำท่วมฉะเชิงเทรา รวม 9 อำเภอ 51 ตำบล 349 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผกระทบ 14,350 ครัวเรือน สำหรับการให้ความช่วยเหลือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัย ได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งระบายน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไปทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784 โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการ แจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน THAI DISASTER ALERT////// ข้อมูล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM -------------------- เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณคลิกเลย!! รู้ทันกันโควิด หรือกด*301*35# โทรออก ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม. คลิกเลย TrueID Community